โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

“ผัก” คือหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และรักษาสมดุลของร่างกาย มีใยอาหารที่ช่วยเรื่องระบบการย่อยและขับถ่าย โดยเฉพาะ “ผักสด” คนไทยนิยมบริโภคกันมาก แต่ถ้าผักสดนั้นๆ ปนเปื้อนสารเคมี จากที่มีประโยชน์ก็จะกลายเป็นมีโทษต่อร่างกายทันที ดังนั้นการบริโภคผักปลอดสารพิษ ทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ “ผักปลอดสารพิษ ” หมายถึง ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูรวมทั้งไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตของพืชผัก การปลูกผักให้ปลอดสารพิษเป็นการนำเอาวิทยาการต่าง ๆ มาใช้ผสมผสานกันอย่างเหมาะสม ทั้งในด้านพันธุ์ผัก ความอุดมสมบรูณ์ของดิน การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว หลักการในการปลูกพืชผักให้ปลอดสารพิษ โดยยึดหลักการการไม่ใช้สารเคมีจะยึดหลักการนำเอาวิธีการป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันหรือวิธีผสมผสานทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค และรักษาสภาพแวดล้อม

ข้อดีของการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

1.ทําให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยต่อการบริโภค
2.ช่วยเกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสาร เคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช  ทําให้เกษตรกรผู้ปลูกปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย
3.ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
4.ลดปริมาณการนําเข้าสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
5.เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทําให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น
6.ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้า ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรั

พยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

การปลูกผักปลอดสารพิษในโครงการเกษตรเพื่ออาหารใน ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่ฮองกลาง เป็นการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี ในการบำรุงดินและพืชผักจะใช้วิธีการหมัก        จุลินทรีย์ EM หมักกับเศษอาหารและชิ้นส่วนของผักสด ที่ไม่ได้ใช้งาน นำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการเกษตรของ ศูนย์การเรียนชุมชนฯ

ศูนย์การเรียน ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่ฮองกลางยังได้มีการเลี้ยงปลาดุกเป็นอาหารกลางวัน เพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นจากการได้รับประทานโปรตีน จากเนื้อปลา ขณะเดียวกันยังมีความรู้ด้านการเลี้ยงปลาติดตัวเป็นประสบการ

ณ์ชีวิตเพื่อนำไปใช้ในอนาคต

ปลาดุกเป็นปลาเลี้ยงง่าย มีอัตราการเจริญเติบโตสูง  อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติอร่อย  ราคาไม่แพงมากนัก ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุก ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย เลี้ยงได้ทุกพื้นที่ ระยะเวลาการเลี้ยงสั้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน มีอาหารบริโภคเพียงพอต่อความต้องการ
2.เด็กนักเรียนได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถูกหลักโภชนาการ
3.เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนและชุมชนตระหนักถึงการพึ่งพาตนเอง
4.เป็นการรณรงค์การใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการเสียสละ

ผลการดำเนินงาน
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่ฮองกลาง จัดกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวและการเลี้ยงปลาดุก เพื่อนำมาประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน โดยให้เด็กนักเรียนช่วยกันดูแล เพื่อให้นักเรียน มีอาหารโปรตีนและผักไว้รับประทาน ได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย

ในส่วนของการปลูกผักได้รับการสนับสนุนจากเกษตรอำเภออมก๋อย สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ การเลี้ยงปลาดุกได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานประมงจังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน ซึ่งได้รับความสนใจและความร่วมมือจากชุมชนและนักเรียนเป็นอย่างดี

ปัญหาและอุปสรรค

1.อาหารสำหรับเลี้ยงปลามีไม่เพียงพอ
2.สัตว์เลี้ยงของชาวบ้านรบกวนแปลงผักสวนเกษตร

แนวทางการแก้ปัญหา

1.ประสานงานกับหน่วยงานเครือข่ายในการขอรับสนับสนุนอาหารปลาดุก
2.ทำความเข้าใจกับชุมชนในการทำคอกเลี้ยงสัตว์ ไม่ให้รบกวนแปลงเกษตร

 

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.