การเดินทางในเส้นทางอันหฤโหด ได้เริ่มขึ้นแล้ว

ที่ผ่านมาเป็นแค่ บททดสอบ ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนคือตั้งแต่ มีนาคม-มิถุนายน เป็นบททดสอบทั้งกายและใจ พอย่างเข้าเดือนกรกฎาคม หนทางอันหฤโหด ที่เป็นเรื่องเล่าขาน ต่อกันมานานหลายปีได้เริ่มขึ้นในการเดินทางของผมแล้ว เดือนนี้จำเป็นต้องลงมาจากดอยก่อนกำหนดเดิม ๒ วัน เพราะต้องมาร่วมงานเปิด กศน.ตำบลนาเกียน การเดินทางครั้งนี้เริ่มจากครูกำจัด ที่เป็นครูนิเทศก์กลุ่มแม่ฮองได้ มานิเทศก์ บ้านมะหินหลวง ทีเนอะ ทีลอง ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ต่อมายังบ้านแม่เกิบ แม่ฮองกลาง แม่ฮองใต้ และบ้านห้วยหวาย เป็นบ้านสุดท้าย คณะครูตามรายทางจึงได้เดินทางพร้อมกับครูใหญ่ คำเรียกครูใหญ่ เป็นการให้เกียรติครูนิเทศก์ เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์มายาวนานในการทำงานบนพื้นที่สูง ที่พร้อมจะให้คำแนะนำน้อง ๆ ครูรุ่นใหม่ที่เข้าไปแทนที่คนเก่า ครูใหญ่และพวกเรา ได้ประชุมหารือการเดินทางออกจากพื้นที่ได้ข้อสรุปว่า จะพาคณะครูจาก ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ไปสำรวจเส้นทางกลุ่มผีปาน โดนเส้นทางกลุ่มผีปานนี้ผมใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกประจำ แต่ครูจากศาลาเท และแม่ละเอ๊าะจะใช้เส้นทางบ้านนาเกียนแทน ครูทั้งหมด ๗ คนจาก ๕ ศูนย์การเรียน ของการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางท่ามกลางฤดูมรสุม ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ความลำบาก และการช่วยเหลือ

ครูผู้ช่วยที่ต้องรับผิดชอบ มากกว่าผู้ช่วยครู

แทบจะไม่เคยเขียนเรื่องถึงครูผู้ช่วยของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลางเลย ครูชิ หรือนายนำโชค นิมิตคีรีมาศ เป็นครูในโครงการ ครู กพด. (การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร) ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ครูชิ จบม.๓ จากโรงเรียนบ้านนาเกียน แล้วมาต่อ ม.๖ ที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม ความโชคดีที่ได้เรียนต่อคือบ้านนาเกียนเป็นพื้นที่ที่มีโครงการพระราชดำริ เกี่ยวกับเกษตรพื้นที่สูง และอีกความโชคดีคือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งองค์กรทางศาสนา ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองนับคือคริสต์ได้เรียนในระดับที่สูง ๆ ขึ้น ที่อำเภอไชยปราการ ชนเผ่ามูเซอเหลืองบ้านดอยเวียง จะได้รับการศึกษาดีมาก โดยเด็กเมื่ออายุ ๑๐ ปีขึ้นไปจะถูกส่งไปอยู่บ้านพักหอพักศาสนาคริสต์ในอำเภอพร้าว และได้รับการศึกษาต่อที่อำเภอพร้าว พื้นที่อมก๋อย ก็มีองค์กรทางศาสนาเข้ามาบ้างเหมือนกันในจุดที่การคมนาคมสะดวก ใกล้กับบ้านพักผมที่อมก๋อยยังมีบ้านพักศาสนาบาไฮ ซึ่งเป็นทางเลือกให้สำหรับเด็กบ้านไกล ที่จะได้รับการศึกษาโดยมีองค์กรทางศาสนายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ปัจจุบัน ครูชิ เป็นครูผู้ช่วย โดยได้ทุนจากโครงการพระราชดำริ มาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีทางครุศาสตร์ ซึ่งทุกเดือนระหว่างวันที่ ๓๐ ของเดือน ถึงวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป จะต้องลงมาเรียนที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาราชภัฎเชียงใหม่ เข้ามาสอนให้ถึงที่ ณ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม กศน.อำเภออมก๋อย มีครูผู้ช่วยในโครงการครู

ถึงคราวคับขัน ก็ไม่ถึงกับสิ้นหนทาง สวรรค์ยังเมตตา

ขึ้นดอยโดยปกติผมจะไปถึงสามแยกผีปาน-บ้านนาเกียน ผมจะต้องไปสายผีปาน ไปที่บ้าน ใบหนา แยกผีปานเหนือ เข้าห้วยบง และมาแม่ฮอง ครั้งไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม คราวนี้เปลี่ยนเส้นทางไปเส้นทางที่ไม่เคยไปคือไปบ้าน นาเกียน ทีลอง ศาลาที แม่เกิบ และแม่ฮอง ตามคำชวนของเพื่อนครู และต้องไปดูเส้นทางว่าลำบากกว่าเส้นทางที่ผมใช้ประจำหรือไม่ ก็รู้สึกได้ว่า ถนนจะดีกว่าเส้นที่ผมใช้ประจำ เมื่อไปถึงบ้านแม่เกิบ ทางชันเกือบขึ้นไม่ได้ ต้องเข็ญรถขึ้น พร้อมแบกกระเป๋ามีหนังสือ และวิตามีนซีไปฝากเด็ก ๆ และลำอ้อยไปปลูกบนดอย ผ่านทางขึ้นเนินบ้านแม่เกิบไปได้ด้วยความทุลักทุเล แต่ปรากฎว่ารถไปล้มเอาตอนจะขึ้น ศศช.บ้านแม่เกิบเพื่อจะเข้าไปแวะพักเหนื่อย บาดแผลถลอกนิดเดียว ขนาดวงเหรียญ ๕ หรือเหรียญ ๑๐ ผมคิดว่าไม่เป็นไร สัก ๗-๑๐ วันก็น่าจะหายไปเอง ผมคิดผิดไปถนัด ๗ วันก็แล้ว ๑๐ วันก็แล้ว ซ้ำอาการหนักกว่าเก่า โดยมีเลือดไหลออกมาพร้อมกับหนอง เจ็บจนนอนไม่หลับ ปกติเดือนก่อน ๆ ผมก็เตรียมยาแก้อักเสบขึ้นไป แต่ชาวบ้านไม่สบาย เลยให้ไปหมดเลย ๒ แผง เลยไม่มียาแก้อักเสบกิน ด้วยความที่ซื้อแพงเหลือเกิน อมก๋อยแผงละ

กระดูกไก่ที่กินเนื้อหมดแล้ว ยังมีประโยชน์

เช้าวันหนึ่ง ได้รับอาหารเช้าเป็นต้มไก่ แบบบนดอยแน่นอนในนั้นจะต้องมี ๓ สิ่งที่เป็นของสำคัญ ที่แม้แต่คนในบ้านก็ไม่ได้กิน ๑. หัวไก่ติดคอไก่มาด้วย ๒. ขาไก่ทั้งสองข้าง และ ๓ ปีกไก่ทั้งสองข้าง มองอย่างคนเมือง คนภายนอก แน่นอนเราต้องชอบกินเนื้อไก่ มากกว่าส่วนอื่น เป็นอย่างแท้แน่นอน วันนี้เป็นวันที่ผมสามารถเลือกได้ว่าจะกินหรือไม่กิน เพราะเขาเอามาส่งให้ถึงโรงเรียน ไม่ได้รับเชิญไปกินที่บ้าน ที่จะต้องกินทุกอย่างที่พ่อบ้านนำมาให้ เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าของบ้าน วันนี้ผมก็เลยไม่กินไก่ทั้งสามส่วนที่ได้รับมา คือ หัว ขา และปีก ตั้งใจจะเก็บไว้ให้เด็ก ๆ ที่มาช่วยงานที่โรงเรียนได้กินบ้าง เพราะรู้ว่าเด็ก ๆ ไม่ค่อยได้กินอาหารดี ๆ แน่ ๆ ถ้าเป็นกับข้าวที่บ้าน แต่ผิดคาดครับ เด็ก ๆ ที่ผมให้กินไม่มีใครกล้ากินสักคน โดยคำตอบที่ได้คือ “เด็กกินไม่ได้” ผมเข้าใจว่าคงโดนปลูกฝังสั่งสอนมา คงจะเป็นเหมือนผมที่สมัยเด็ก ๆ จะโดนปลูกฝังว่าเด็ก ๆ กินตับและใตไก่ไม่ดี หารู้ไม่ตับและไต อร่อยเป็นที่สุดเมื่อได้กินตอนเด็ก ความปรารถนาดีของต้องผมหมดหวัง เพราะไม่มีเด็กคนไหนกล้ากิน อาหารชั้นดีที่ผมหยิบยื่นให้

ความเสมอภาคและยุติธรรมไม่มี มีแต่ความพึงพอใจในโชคชะตาของคนในที่ห่างไกล

ได้รับภารกิจให้ไปจัดสานเสวนา ๓ ทศวรรษ กพด. โดยให้จัดเสวนาชุมชน๓ ด้าน คือความเสมอภาคทางการศึกษา คุณภาพชีวิต และการบริหารจัดการ ศศช. ประเด็นของความเสมอภาคเป็นประเด็นหลักใน ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในหมู่ครู กศน. ปัญหาคือ เราให้สิทธิกับทุกคนในชุมชน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม แล้วอะไรคือความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ในมุมมองของชุมชน อะไรคือปัญหาของความไม่เสมอภาคทางการศึกษา เพราะในเมื่อทุกคนในชุมชนได้รับโอกาสทั้งนั้น เด็กตั้งแต่ ๓-๑๕ ปี จะบรรจุรายชื่อเพื่อรับงบสนับสนุนอาหารกลางวัน จากรัฐ คนไหนไม่มาเรียน ก็แน่นอนไม่ได้รับสิทธิ์นั้น ขนาดบางคนไม่มีชื่อ ยังมารับอาหารตั้งแต่ ๒ ขวบกว่า ๆ ในฐานะที่เป็นครู ก็ต้องจัดสรรอาหารให้ไปตามส่วนของเด็ก คงไม่มีครูคนไหนใจดำขนาดเห็นเด็กตัวเล็ก ๆ มารับอาหารแล้วไม่ให้อาหารเด็ก เพียงเพราะว่าไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อ แม้แต่ผู้ใหญ่เราก็ให้สิทธิเรียนกันทุกคน หากแต่ผู้ใหญ่เหล่านั้นจะมีข้ออ้างที่ไม่มาเรียนเนื่องจากต้องทำมาหากิน หรืออาจจะอายเด็ก ๆ ที่ต้องมาเขียนหนังสือเหมือนเด็ก ๆ การเรียนจึงประยุกต์ไปตามสภาพของชุมชน เช่นเรียนที่บ้าน ฝีกเขียนที่บ้าน เรียนโดยการสนทนาแสดงความคิดเห็น ตั้งประเด็นให้คิดและแสดงความคิดเห็น ความไม่เสมอภาคในมุมมองของผม คือความไม่เสมอภาคของของงบประมาณที่ลงให้แต่ละพื้นที่มากกว่า ๓ จังหวัดภาคใต้ทุ่มงบประมาณลงไปสร้างความเจริญให้เท่าไหร่ ๆ ได้ข่าวว่าหลายพันล้านบาท

มือจับชอล์กล้าระโหยอ่อน ใจที่ซ่อนความช้ำด้อยศักดิ์ศรี

มือจับชอล์กล้าระโหยอ่อน ใจที่ซ่อนความช้ำด้อยศักดิ์ศรี หน้าที่เมื่อยด้วยฝืนยิ้มดูยินดี ปากพาทีพร่ำอบรมบ่มวิชา หลายวันนี้รู้สึกหงุดหงิดจิต เฝ้าครุ่นคิดอำลาการศึกษา เปลี่ยนอาชีพเปลี่ยนรายได้เปลี่ยนชีวา ฝันไปว่าชีวิตใหม่คงงดงาม ฝันมีบ้านหลังใหญ่รถเก๋งโก้ พร้อมพกโทรมือถือคนเกรงขาม เครดิตการ์ดมีไว้รูดได้ทุกยาม สนองกามเกียรติกินศิวิไลซ์ สะดุ้งตื่นจากภวังค์ด้วยเสียงศิษย์ ปิดความคิดด้วยแววตาที่ซื่อใส มือที่ไหว้หัวที่น้อมพร้อมดวงใจ ฉุดครูไว้ให้เป็นครูอยู่จนตาย ประพันธ์โดยครูรวี จากนิทานครู ของวีระ  ทองทาบวงศ์

อภัยให้ครูด้วย หากปลาที่เด็ก ๆ เลี้ยงไว้จะไปมีชีวิตใหม่

ก่อนลงดอย ๑ คืน ฝนตกตั้งแต่ช่วงหัวค่ำของคืนวันที่ ๒๒ มิถุนายน ทำให้คืนนี้ที่ศูนย์การเรียนค่อนข้างจะเงียบเหงาเร็วกว่าปกติ ซึ่งปกติ จะมีเด็ก ๆ มีอยู่มาคุย เพื่อรอเวลาไปดูทีวี บรรยากาศดีเหลือเกิน เมื่อเสียงเม็ดฝนตกกระทบหลังคาสังกะสีศูนย์การเรียน ผมเอา Notebook ที่ติดขึ้นไปบนดอย ตัดสินใจนำ “ชีวิตร่ำไห้ ที่ไม่มีใครได้ยิน” มาเปิดให้เด็กที่อยู่เป็นเพื่อน ๓ คน ได้แก่ อาทิตย์ บือพะ และยงยุทธ ได้ดูในคืนนั้น วีดีทัศน์ชุดนั้น ลุงยุทธ นักพัฒนาสังคม ผู้ที่พยายามชักชวนผมให้เว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ได้มอบให้ไว้นานแล้ว เพิ่งจะได้มีโอกาสดูจนจบเรื่อง ก็วันนี้เอง “ตนเป็นที่รักแห่งตน เรารักตัวเองฉันใด สัตว์อื่นก็รักตัวเองฉันนั้น” เป็นคำบรรยายแรก ในวีดีทัศน์ชุดนั้น พร้อมกับภาพของสัตว์ต่าง ๆ ที่ถูกฆ่าเพื่อมาเป็นอาหารมนุษย์ ในฉากถัดมา วีดีทัศน์ชุดนั้นใช้ มีภาพค่อนข้างที่จะโหดร้ายสะเทือนใจ เช่นภาพปลาโดนสับหัวเป็น ๆ  ภาพกบถูกลอกหนังแล้วยังดิ้นรนต่อ ภาพปาดคอเปิดเพื่อเอาเลือด แล้วยังดิ้นไปอีกสักพักกว่าจะตาย “พวกเรายังไม่อยากตาย พวกเราไม่ใช่อาหารของท่าน ใครคงหลอกท่านไว้แน่เลย ว่าพวกเราเป็นอาหารของท่าน”

เห็ดเผาะ ของดีที่ไร้ค่า ลุ่มน้ำแม่ฮอง

ตลอดการเดินทางจากอำเภอฮอดเข้า ไปอำเภออมก๋อย จะเห็นข้างถนนหลวงจะมีเพิงเล็ก ๆ ตั้งขายของป่าเรียงรายอยู่ เกือบตลอดเส้นทาง เจ้าเห็ดก้อนกลม ๆ ที่เกิดในดิน หากินได้เฉพาะทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น และก็มีขายกันเฉพาะช่วงต้นฤดู ฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมเท่านั้น เห็ดที่ว่านี้มี ชื่อว่า “เห็ดเผาะ” หรือเห็ดเหียงหรือเห็ดหนัง บางคนก็เรียกว่า เห็ดดอกดิน แต่ชื่อที่เรียกกันติดปากมาที่สุดคือ “เห็ดถอบ” เป็นหนึ่งในของป่าที่สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านริมถนนเหล่า นั้นคือเห็ดเผาะ ภาษาถิ่นทางเหนือเรียกเห็ดถอป และของป่าอื่น ๆ ตามฤดูกาล ภาคอิสานเรียกเห็ดเผาะ สีขาวขุ่นน่ากินยังกับลูกชิ้น เกิดในท้องนาดินปนทราย เห็ดถอบของทางเหนือ จะเกิดบริเวณที่ไฟไหม้ป่า เท่านั้น ลูกดำ ๆ ล้างเท่าไหร่ก็ไม่ขาว ที่อำเภอไชยปราการ ขายกันลิตรละ ๑๐๐-๑๒๐ บาท ในต้นฤดูกาล ที่อำเภอฮอดและอมก๋อย ริมทางหลวงก็ขายกันได้ลิตรละ ๘๐-๑๒๐ ตามความต้องการของตลาด แต่อนิจจา ที่บ้านแม่ฮองกลาง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อยและหมู่บ้านใกล้เคียงชาวบ้านไม่สามารถเอาออกมาขายได้ เพราะไม่รู้ราคาตลาด และการเดินทางลำบาก เด็ก ๆ เอามาฝากให้ครูประมาณ

บังเอิญ ที่ได้อ่าน “ดูรู้ ๑ พรรษา”

บังเอิญที่ เป็นหนังสือ ที่พระศุภกิจบันทึกเมื่อจำพรรษา อยู่ ยุวพุทธิกสมาคมศูนย์สอง บัญเอิญที่ พระท่านมีพระอาจาย์ ที่เคยรับนิมนต์ ไปทำบุญ ที่ทำงานเก่าผม บัญเอิญที่ ช่วงนั้นผม อยากเข้าไปร่วมกิจกรรมทำบุญแต่ไม่ได้ไป คงบุญไม่มีที่จะได้กราบพระดี ๆ บังเอิญที่ การพาน้องไปทะเลครั้งที่ ๒ นี้ผมระบุลงไปที่ ยุวพุทธกสมาคมฯ ประทุมธานี ไม่ทราบว่าเป็น ศูนย์สอง บังเอิญที่ ความตั้งใจของครูก้อย ผู้ประสานงานได้ประสานไว้ที่ ศูนย์หนึ่งบางแค ทำให้ไม่ได้ไป ศูนย์สอง บังเอิญที่ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนั้นเกิดมาเมื่อปี ๒๕๔๙ มันเฉียดไปเฉียดมากับชีวิตผมตลอดเวลา บัญเอิญที่ หนังสือเล่มนั้นเล่าว่า เรื่องบัญเอิญไม่มี มันมีเหตุ มันมีที่มาที่ไปทุกอย่าง จึงได้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น ไม่บัญเอิญที่ผมตั้งใจจะเอาไว้ บนดอย แล้วเกิดอยากเอาหยิบติดมือลงด อยมาด้วย มาคิดได้อีกครั้งควรจะแบ่งคนอื่น ได้อ่านบ้าง จึงเอาไปบริจาคให้ห้องสมุดประชาชนอำเภออมก๋อย ไม่บังเอิญที่จะขอขอบคุณคุณสว่าง จิตร์ น้ำทิพย์ อีกครั้งที่ส่งหนังสือดี ๆ

รางวัลที่แคทอยากได้

รู้สึกขอบคุณตัวเองที่มาร่วมเป็นคนอาสา เพราะทุกครั้ง ที่เราได้ทำอะไรไป แม้ว่าจะไม่ได้รางวัลอะไรกลับมา แต่รางวัลที่แค ทได้รับกลับมาในการทำงานอาสาก็คือ ได้เห็นรอยยิ้มของคนอื่นๆ พร้อมๆ กับได้ยิ้มไปด้วยกัน แต่การที่ได้เห็นพวกเขายิ้ม พวกเขาหัวเราะ พวกเขาดีใจ นั่นคือคำขอบคุณที่วิเศษที่สุดโดยที่ไม่ต้องเอ่ยคำว่า ขอบคุณออกมา นั่นก็พอแล้วสำหรับรางวัลที่แคทอยากได้ ~^ ^~ ด้วยอยากสร้าง    ป่างาม        ตามความคิด หวัง ผลิต         “ป่าคน”      ให้ล้นหลาย ช่วยสร้างคน  คุณภาพ     ให้มากมาย ร่วมขยาย        ความดี         บน”ใจคน” จึงมุ่ง มั่น       สร้างคน        เหมือนสร้างป่า

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.