วิถีชีวิต วิถีชุมชน วิถีคน วิถีป่า

ใกล้เข้าสู่ปีการศึกษาใหม่ ๒๕๕๕ ซึ่งจะเปิดเทอม ในไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะนี้จึงเป็นช่วงเวลาของเด็กเรียนในระบบกำลังเรียนกันอย่างเคร่งเครียด เพื่อจะให้ได้คะแนนดี จะได้เข้าโรงเรียนหรือเรียนต่อในโรงเรียนตามที่คิดที่หวังไว้ สำหรับเด็กดอยที่มีความพร้อม แม้จะมีทั้งพรแสวงและพรสวรรค์ ในสายตาของครูในหมู่บ้านและแขกที่มาเยี่ยม และได้เห็นภาพ เห็นพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก หากได้รับโอกาสที่ดี ที่ผู้ใหญ่ใจดีพร้อมหยิบยื่นให้ แต่หากครอบครัวไม่พร้อมสนับสนุน ก็กลับกลายเป็นอุปสรรคได้ เด็กหญิงวิภา นางสาวโซเซา เด็กหญิงหม่าพะ และเด็กชายยงยุทธ ๔ คน ในหลาย ๆ ชีวิตที่ย่างก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ที่พร้อมจะเป็นแรงงาน ให้กับครอบครัว ด้วยวิถีชีวิตชุมชน ความห่างไกล ที่อาศัยอยู่ในป่า กับธรรมชาติ อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกล โดยทั้ง ๔ คนกลับกลายเจอปัญหาอุปสรรค ที่คล้าย ๆ กัน ด้วยเพราะน้อง ๆ กำลังโต จะเป็นแรงงานช่วยทางบ้านได้ เด็กหญิงวิภาอายุ ๑๔ ปี อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และมีน้องอีก ๓ คน จึงเป็นพี่สาวคนโตที่ต้องออกไปสู่แรงงานในไร่ปีนี้เป็นปีแรก เด็กหญิงหม่าพะอายุ ๑๔ ปี

การต่อสู้ทางความคิด เพื่อแย่งศิษย์-หลาน

 ครูก้อยหนึ่งในอาสาสมัครที่เคยร่วมกิจกรรม เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่หลายกิจกรรม หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมเมื่อปี 2552 ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม 4Dekdoi และได้ร่วมกิจกรรม Visit Dekdoi 2012 เมื่อวันที่ 25 – 28 มกราคม 55 ที่ผ่านมา และคงได้เห็นสภาพบนดอยที่เปลี่ยนไป จึงได้ถามผมว่า “เป้าหมายคืออะไร” เป็นคำถามที่ผมต้องคิดย้อนกลับไปเมื่อมาเป็นครูอาสาในกลางเดือนมีนาคม 2553 สภาพที่เห็นในตอนนั้น มันไม่มีอะไรเลย มีแต่อาคารเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเดียวเท่านั้น สวนกล้วยที่มีรอบบริเวณถามไปถามมา ก็ไม่ใช่ของศูนย์การเรียน แล้วอะไรที่ควรทำตามเป้าหมายที่ได้รับมอบมา หลาย ๆ กิจกรรมจึงเป็นการทำแบบผสมผสานดังนี้ – กลุ่มเป้าหมายนักเรียนด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร 3 – 15 ปี – ส่งเสริมการรู้หนังสือในกลุ่มผู้ใหญ่-ผู้ใช้แรงงาน – การส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก – การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น – การส่งเสริมภาวโภชนาการในเด็กวัยเรียน – โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน – การลดภาวะการขาดสารไอโอดีนในเด็กพื้นที่สูง – กิจกรรมด้านอนามัยเด็กวัยเรียน การที่เด็กในชุมชนเติบโตขึ้นมาเมื่ออายุได้ 14

ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง

การได้เป็นครูอาสาครั้งนี้ ทำให้ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง ต้องขอขอบคุณครูพี่ตุ๋ม ที่กล้าชวน ซึ่งน้องก็กล้าไป และยังให้คำแนะนำมากมาย ขอบคุณเพื่อนขวัญที่คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง ขอบคุณพี่โต้งที่คอยให้คำแนะนำกับครูอาสามือใหม่คนนี้ และขอบคุณครูอาสาเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่ทำให้ประสบการณ์ของแอนในครั้งนี้มีคุณค่าที่สุดประสบการณ์หนึ่งในชีวิต และที่ขาดไม่ได้ ขอบคุณครูต้อม สุดยอดครูดอย ที่ทำให้รู้ว่าอุดมการณ์มีค่ากว่าแก้วแหวนเงินทอง…นอกจากนี้ ต้องขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับชาวบ้านและเด็กๆ หมู่บ้านแม่ฮองกลาง ที่ได้สอนและทำให้แอนได้เรียนรู้กับคำว่า “พอเพียง” ที่แท้จริง การมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว โดยไม่ทำร้ายกัน ถ้ามีโอกาสเราคงได้พบกันอีกนะคะ By Anchalee Ekpakdeewattanakul (Albums) Updated on Friday, December 16, 2011 at 11:29am  Taken at บ้านแม่ฮองกลาง อ.อมก๋อย

รอยยิ้ม มิตรภาพ และหัวใจที่เบิกบาน

กุ๊งกิ๊งกุ๊งกิ๊ง เสียงกระดิ่งจากคอวัว ปลุกพวกเราให้ลุกขึ้นมาแต่เช้าตรู่ แม้ ว่าสภาพอากาศข้างนอกจะเย็นแค่ไหน แต่ก็ไม่ทำให้หัวใจเราย่อท้อ ครูหลายๆคนตื่นขึ้นมาตอนเช้า บ้างถือกล้องเดินสำรวจหมู่บ้าน บ้างช่วยพ่อกับแม่ทำกับข้าว บ้างคุยทักทายกันตามอัธยาศัย แสงหมอกเริ่มจางตัวลงตามแสงแรกของวันที่กำลังส่องแสงเข้ามาเยือนหมู่บ้านแม่ ฮองกลางแห่งนี้ พร้อมกับสายลมเย็นที่พัดมาชะโลมผิวจนขนลุก หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งมีชาวบ้านชนเผ่ากะเหรี่ยงอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย หมู่บ้านแห่งนี้มีไม่มีไฟฟ้าใช้บางบ้านดีหน่อยมีโซล่าเซลล์ แล้วตามแต่สถานภาพของแต่ละครอบครัว แต่ทุกๆ บ้านก็ทำให้เราได้เห็นว่าพวกเขาใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้อย่างพอเพียง หลอดไฟฟ้าในแต่ละบ้านนั้นก็ใช้กันเพียงแค่หลอดเดียว ซึ่งเอาไว้ทำหน้าที่เพื่อส่องแสงสว่างในยามราตรีเท่านั้น การดำรงชีวิตยังเป็นแบบดั้งเดิมตามวิถีชีวิตของชาวบ้านทั่วๆ ไป ของชนเผ่า ซึ่งทุกชิวิตของที่นี่ก็สามารถดำรงชีวิตกันอยู่ได้ด้วยความสุข ถึงแม้ในแต่ละวันชาวบ้านแห่งนี้จะต้องออกไปทำไร่ทำนา ซึ่งส่วนมากก็ทำเพื่อเก็บเอาไว้กินเองตามฤดูกาล ยามใดที่แสงสีทองของตะวันส่องแสงรำไรๆ นั่นคือสัญญานที่บ่งบอกว่าทุกคนในครอบครัวจะต้องออกไปทำนากันแล้ว เหลือไว้ก็แต่เด็กที่ต้องไปโรงเรียน เด็กๆ ทุกคนที่นี่เติบโตกันมาได้ตามวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน และต้องรับผิดชอบต่อตัวเองเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่เด็กทุกคนที่นี่ได้รับคือความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ เขียนเองก็เคยเป็นหนึ่งของผู้คนที่เคยไปพบและประสบและได้สัมผัสชีวิตตามวิถี ชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งเริ่มแรกก็มีความคิดที่ไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ เลย นั่นก็คือพวกเขาอยู่กันได้อย่างไรในพื้นที่เช่นนี้แต่เมื่อเราได้เข้าไปอยู่ ท่ามกลางชาวบ้านทุกครัวเรือน เมื่อเวลาได้หมุนเวียนผ่านไป เมื่อได้หันมองไปรอบๆ ตัว สิ่งที่ได้เห็นก็คือ รอยยิ้มของทุกๆ คน ในหมู่บ้านแห่งนี้นั้นทำให้เราประจักษ์ได้ว่า ณ ที่แห่งนี้นั่นแองที่คือความสุขของพวกเขา แต่ความทุกข์ คือสิ่งที่เราทุกคนต่างเป็นผู้ยัดเยียดความรู้สึกแบบนี้ให้กับพวกเขาเอง เพราะเราทุกคนต่างคิดกันเอาเองว่า ถ้าเขาได้รับความสะดวกสบายเหมือนที่เราเป็นอยู่ และเขาคงมีความทุกข์มากที่ในแต่ละวันไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง

ภูมิใจจดหมายเด็ก ๆ

ย่อมเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของครู ที่เด็ก ๆ อ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือเป็น เพราะเด็กชาวเขา ไม่เหมือนกับเด็กชาวเรา (คนไทยพื้นเมือง) เด็กบนดอย จะมีภาษาพูด ที่แตกต่างจากเด็กไทย ทั่วไป การคิดก็ย่อมคิดออกมาเป็นภาษาที่พูด การเขียนเท่านั้นไม่มีในภาษาชนเผ่า ต้องใช้ภาษาไทยในการเขียน เมื่อขึ้นดอยไป แล้วเด็ก ๆ เล่าให้ฟังว่า “ผมเขียนจดหมาย ครับครู” จึงเป็นเรื่องแปลกใจ และอดภูมิใจไม่ได้ที่เด็ก ๆ กล้าท่ายทอดความคิด ออกมาเป็นตัวหนังสือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยได้สอนให้เด็ก ๆ เขียนมาก่อน ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้ง ที่เด็ก ๆ ทำให้ครูภูมิใจในความสามารถของเด็ก ๆ ที่มี และดีใจที่สิ่งที่เคยสอนไปไม่เสียเปล่า เด็ก ๆ สามารถนำมาถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ออกมาเป็นตัวอักษรได้ ถึงแม้จะเป็นตัวอักษร และสำเนียงแบบเด็ก ๆ แต่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และใสซื่อ ถึงแม้จะเขียนผิดบ้างในบางคำ สิ่งที่เด็ก ๆ แสดงออกมา แม้จะไม่ทัดเทียมกับเด็กพื้นราบก็ตาม แต่ก็แสดงถึงความสามารถและศักยภาพของเด็กดอย ที่ “ครูดอย

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.