วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป….ของคนดอยที่ไชยปราการ

เมื่อกลับบ้านพักที่ไชยปราการเดือนกันยายน ๒๕๕๓ ได้พบปะสนทนากับครูผู้ช่วยท่านหนึ่ง ที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเอกชน ให้ช่วยสอนที่บ้านป่าหนา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ผมเคยไปสอน สมัยที่ลาออกจากเป็นคนกรุงเทพฯ มาเป็นครูดอยใหม่ ๆ ระยะเวลาแค่ ๑ ปีชนเผ่าหมู่เซอที่ไชยปราการเปลี่ยนไปมากเหลือเกินครับ ผมไปเป็นครูอาสาเมื่อกลางปี ๕๐ ทั้งหมู่บ้านมีรถยนต์เพียง ๓ คัน พอปี ๕๒ รถยนต์พุ่งพรวดขึ้นเป็น ๘ คัน หากติดตามข่าวสารเป็นระยะจะสังเกตุได้ว่า ๓ อำเภอโซนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ฝาง แม่อาย และไชยปราการ จะมีข่าวจับยาเสพติดบ่อยมาก จึงไม่ต้องสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเผ่ามูเซอ ทั้งนี้รวมไปถึงอำเภอติดชายแดนของจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็น แม่สาย แม่จัน แม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และอำเภอเมืองเชียงราย หลาย ๆ หมู่บ้านที่ กศน.ทำงานเราที่เป็นครู ก็รู้ทั้งรู้ แต่ต้องคิดอยู่เสมอว่า อย่าไปยุ่งกับยาเสพติด และอย่าให้ยาเสพติด มายุ่งกับเรา หลายหมู่บ้านผู้นำหรือญาติผู้นำเหล่านั้นเป็นผู้ที่ถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง แต่ด้วยความที่เป็นผู้นำชุมชน บางคนเป็นถึงผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ช่วย ทำให้หน่วยงานราชการต่างเกรงใจ และในเทศกาลกินข้าวใหม่ในเดือนตุลาคม และเทศกาลกินวอของชนเผ่าลาหู่ จะมีผู้นำจากพื้นราบ กำนัน

อุปสรรคเป็นแค่เรื่องผ่านมาแล้วผ่านไป

หลายคนเป็นบอกว่า ปัญหามีไว้แก้บ้าง มีไว้วิ่งชนบ้าง แต่สำหรับผมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แค่เหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป บางเรื่องก็จดจำได้บางเรื่องก็ไม่อยากจำ ก็เท่านั้นเอง ขึ้นดอยเดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ไม่กล้าอาจหาญชาญชัยตะลุยเดี่ยว เพราะประสบการณ์ที่เกิดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์สอนเราอย่างดี พร้อมทั้งเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาก่อน จึงได้รอขึ้นดอยพร้อมกันกับครูอีกหลาย ๆ หมู่บ้านรวมทั้งน้อง ๆ ครู กพด. ที่แน่นอนผมหวังลึก ๆ ว่าหากมีอะไรน้อง ๆ เหล่านั้นที่อยู่ในวัยยี่สิบต้น ย่อมสามารถช่วยผู้อาวุโสอย่างผมได้ รวมทั้งความเป็นชนเผ่าของน้อง ๆ ครู กพด. ทำให้เหมือนเป็นใบเบิกทางในการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย ในกลุ่มแม่ฮองที่เดินทางครั้งนี้มีครูทั้งหมด ๘ คน ๗ ศูนย์การเรียน รถมอเตอร์ไซด์ ๖ คัน เมื่อถึงสามแยกนาเกียน-ใบหนา เราก็ต้องแยกทางกัน กลุ่มผมแยกเข้าไปบ้านใบหนารถ ๔ คัน ๕ คน อีกกลุ่มแยกไปเส้นทางบ้านนาเกียน รถ ๒ คัน ๓ คน หลังจากเดินทางผ่านไปได้ประมาณ

กว่าจะรู้ตัวว่าแก่ ก็เมื่อได้รับคำถามแบบเด็ก ๆ

“ครูครับ ฟ้ามิอาจกั้น แปลว่าอะไรครับ” “ครูค่ะ อย่าปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ หมายถึงอะไรค่ะ” “ครูครับ ชั่วฟ้าดินสลาย แปลว่าอะไรครับ” และอีกหลาย ๆ คำถามที่เป็นภาษาวัยรุ่น ที่เด็กเริ่มได้ยินจากเพลง ได้เห็นจากหนังทีวี แม้ว่าทั้งหมู่บ้านจะมีทีวีเพียง ๒ เครื่อง แต่ก็สามารถทำให้เด็กเกิดความสนใจในภาษา และเข้าใจภาษาได้เร็ว โดยเฉพาะภาษาวัยรุ่น ในหมู่เด็กที่อายุก้าวเข้าสู่วัยรุ่น หลายคำถาม ผมต้องตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะเด็กผู้ชายรู้แล้วก็ไปอำเด็กผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมาถามใหม่ หลายคำถาม ทำเอาผมอึ้งเพราะไม่คิดว่าเด็กบนดอย จะถามซึ่งเป็นคำถามแบบวัยรุ่นในเมือง สื่อทีวี เพลง ค่อนข้างที่จะมีอิทธิพล สำหรับเด็กบนดอยมากพอสมควร เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เข้ามาในหมู่บ้านได้ไม่กี่ปี และทีวีเครื่องที่ ๒ ในหมู่บ้าน ก็เพิ่งจะมีเดือน พฤษภาคม ๕๓ ที่ผ่านมานี้เอง โบราณกล่าวไว้ว่า “ดูหนังดูละคร ให้ย้อนกลับมาดูตัวเอง” ด้วยความขี้เกียจ ที่จะต้องย้อนมาดูตัวเองนั่นแหละ ทำให้ผมไม่ค่อยดูทีวี เพราะเป็นคนที่ไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว ทำให้อยู่บนดอยได้โดยไม่เป็นอุปสรรคมากนัก เพราะไม่รู้จะดูไปทำไม ข่าวสารทุกวันนี้ขายข่าวแต่เรื่องร้าย เรื่องดี ๆ ปุถุชน ผู้คนทั่วไปก็ไม่ค่อยนิยมบริโภคกันเท่าไหร่

มาแบ อมก๋อย เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ

มาแบ อมก๋อย  เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ “มาแบ มาแบ อมก๋อย ลงจากดอย มาแบ นักแก ชูเดชะ อามู อาแพ ชูเดชะ อามู อาแพ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย” แปลความได้ว่า ไม่สนุก ไม่สนุก อมก๋อย ลงจากดอย ไม่สนุก มากเลย (คำว่า นักแก เป็นภาษาเหนือ) คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย เมื่อได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก มันสนุกในทำนองและสำเนียง แต่เมื่อได้ถามคำแปลแล้วทำให้ได้ทราบว่า วิถีชีวิตของเด็กบนดอย ที่เป็นอิสระ และความสุข แบบดอย ๆ เด็กเขาคงจะปรับตัวยากเมื่อลงดอย การได้ใช้ชีวิตในตัวอำเภออมก๋อย ถึงแม้จะมีความพร้อมกว่าในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การศึกษา การสื่อสาร และอาหารการกิน หากแต่เด็กก็คือเด็ก ยังคิดถึงพ่อแม่ คิดถึงบ้านบนดอย

โรงเรียนบ้าน… และ ศศช.บ้าน… ต่างกันอย่างไร

โรงเรียนบ้าน…. สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของโรงเรียน การเดินทางค่อนข้างสะดวกกว่า ในหมู่บ้านนั้นมีเด็กมากกว่า 150 คนที่อยู่ในเกณฑ์ วัยเรียน มีครูที่เป็นข้าราชการ ครูสามารถทำผลงานเพื่อเลื่อน ระดับเงินเดือนได้ มีงบประมาณบริหารของแต่ละโรงเรียนเอง ตามที่ได้รับจัดสรร มีครูหลายคน ช่วยกันสอนและรับผิดชอบแต่ละระดับชั้น สวัสดิการของครู เป็นสวัสดิการของข้าราชการ ศศช.บ้าน…… สังกัด สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของศูนย์การเรียน การเดินทางเข้าพื้นที่ส่วนใหญ่จะลำบาก ในหมู่บ้าน มีเด็กในเกณฑ์วัยเรียนตั้งแต่ 3 ขวบ ถึง 14 ปี อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ครูที่สอนเป็นพนักงานราชการ ประเมินการทำงานเพื่อต่อสัญญาทุก 4 ปี ไม่สามารถทำขั้นทำซีได้ ไม่มีงบประมาณของแต่ละ ศศช. งบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ที่ กศน.อำเภอ แต่ละแห่งมีครู 1-2 คน, ครู 1 คนดูแลหลายระดับชั้น รวมทั้งผู้ใหญ่ และผู้ไม่รู้หนังสือ สวัสดิการของครู ตามระเบียบพนักงานราชการ (ใช้ระบบประกันสังคม) นั่นเป็นเหตุผลที่ ครูดอยบางส่วนมาอยู่เพื่อรอสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัด สพท. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ครูผู้ช่วยที่ต้องรับผิดชอบ มากกว่าผู้ช่วยครู

แทบจะไม่เคยเขียนเรื่องถึงครูผู้ช่วยของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลางเลย ครูชิ หรือนายนำโชค นิมิตคีรีมาศ เป็นครูในโครงการ ครู กพด. (การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร) ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ครูชิ จบม.๓ จากโรงเรียนบ้านนาเกียน แล้วมาต่อ ม.๖ ที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม ความโชคดีที่ได้เรียนต่อคือบ้านนาเกียนเป็นพื้นที่ที่มีโครงการพระราชดำริ เกี่ยวกับเกษตรพื้นที่สูง และอีกความโชคดีคือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งองค์กรทางศาสนา ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองนับคือคริสต์ได้เรียนในระดับที่สูง ๆ ขึ้น ที่อำเภอไชยปราการ ชนเผ่ามูเซอเหลืองบ้านดอยเวียง จะได้รับการศึกษาดีมาก โดยเด็กเมื่ออายุ ๑๐ ปีขึ้นไปจะถูกส่งไปอยู่บ้านพักหอพักศาสนาคริสต์ในอำเภอพร้าว และได้รับการศึกษาต่อที่อำเภอพร้าว พื้นที่อมก๋อย ก็มีองค์กรทางศาสนาเข้ามาบ้างเหมือนกันในจุดที่การคมนาคมสะดวก ใกล้กับบ้านพักผมที่อมก๋อยยังมีบ้านพักศาสนาบาไฮ ซึ่งเป็นทางเลือกให้สำหรับเด็กบ้านไกล ที่จะได้รับการศึกษาโดยมีองค์กรทางศาสนายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ปัจจุบัน ครูชิ เป็นครูผู้ช่วย โดยได้ทุนจากโครงการพระราชดำริ มาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีทางครุศาสตร์ ซึ่งทุกเดือนระหว่างวันที่ ๓๐ ของเดือน ถึงวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป จะต้องลงมาเรียนที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาราชภัฎเชียงใหม่ เข้ามาสอนให้ถึงที่ ณ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม กศน.อำเภออมก๋อย มีครูผู้ช่วยในโครงการครู

ถึงคราวคับขัน ก็ไม่ถึงกับสิ้นหนทาง สวรรค์ยังเมตตา

ขึ้นดอยโดยปกติผมจะไปถึงสามแยกผีปาน-บ้านนาเกียน ผมจะต้องไปสายผีปาน ไปที่บ้าน ใบหนา แยกผีปานเหนือ เข้าห้วยบง และมาแม่ฮอง ครั้งไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม คราวนี้เปลี่ยนเส้นทางไปเส้นทางที่ไม่เคยไปคือไปบ้าน นาเกียน ทีลอง ศาลาที แม่เกิบ และแม่ฮอง ตามคำชวนของเพื่อนครู และต้องไปดูเส้นทางว่าลำบากกว่าเส้นทางที่ผมใช้ประจำหรือไม่ ก็รู้สึกได้ว่า ถนนจะดีกว่าเส้นที่ผมใช้ประจำ เมื่อไปถึงบ้านแม่เกิบ ทางชันเกือบขึ้นไม่ได้ ต้องเข็ญรถขึ้น พร้อมแบกกระเป๋ามีหนังสือ และวิตามีนซีไปฝากเด็ก ๆ และลำอ้อยไปปลูกบนดอย ผ่านทางขึ้นเนินบ้านแม่เกิบไปได้ด้วยความทุลักทุเล แต่ปรากฎว่ารถไปล้มเอาตอนจะขึ้น ศศช.บ้านแม่เกิบเพื่อจะเข้าไปแวะพักเหนื่อย บาดแผลถลอกนิดเดียว ขนาดวงเหรียญ ๕ หรือเหรียญ ๑๐ ผมคิดว่าไม่เป็นไร สัก ๗-๑๐ วันก็น่าจะหายไปเอง ผมคิดผิดไปถนัด ๗ วันก็แล้ว ๑๐ วันก็แล้ว ซ้ำอาการหนักกว่าเก่า โดยมีเลือดไหลออกมาพร้อมกับหนอง เจ็บจนนอนไม่หลับ ปกติเดือนก่อน ๆ ผมก็เตรียมยาแก้อักเสบขึ้นไป แต่ชาวบ้านไม่สบาย เลยให้ไปหมดเลย ๒ แผง เลยไม่มียาแก้อักเสบกิน ด้วยความที่ซื้อแพงเหลือเกิน อมก๋อยแผงละ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.