ไร่หมุนเวียน ความภูมิใจในภูมิปัญญา

ไร่หมุนเวียน ความภูมิใจในภูมิปัญญา กับปัญหาปากท้องของคนบนพื้นที่สูง ที่ต้องต่อสูักันต่อไป

วิถีชีวิต วิถีชุมชน วิถีคน วิถีป่า

ใกล้เข้าสู่ปีการศึกษาใหม่ ๒๕๕๕ ซึ่งจะเปิดเทอม ในไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะนี้จึงเป็นช่วงเวลาของเด็กเรียนในระบบกำลังเรียนกันอย่างเคร่งเครียด เพื่อจะให้ได้คะแนนดี จะได้เข้าโรงเรียนหรือเรียนต่อในโรงเรียนตามที่คิดที่หวังไว้ สำหรับเด็กดอยที่มีความพร้อม แม้จะมีทั้งพรแสวงและพรสวรรค์ ในสายตาของครูในหมู่บ้านและแขกที่มาเยี่ยม และได้เห็นภาพ เห็นพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก หากได้รับโอกาสที่ดี ที่ผู้ใหญ่ใจดีพร้อมหยิบยื่นให้ แต่หากครอบครัวไม่พร้อมสนับสนุน ก็กลับกลายเป็นอุปสรรคได้ เด็กหญิงวิภา นางสาวโซเซา เด็กหญิงหม่าพะ และเด็กชายยงยุทธ ๔ คน ในหลาย ๆ ชีวิตที่ย่างก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ที่พร้อมจะเป็นแรงงาน ให้กับครอบครัว ด้วยวิถีชีวิตชุมชน ความห่างไกล ที่อาศัยอยู่ในป่า กับธรรมชาติ อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกล โดยทั้ง ๔ คนกลับกลายเจอปัญหาอุปสรรค ที่คล้าย ๆ กัน ด้วยเพราะน้อง ๆ กำลังโต จะเป็นแรงงานช่วยทางบ้านได้ เด็กหญิงวิภาอายุ ๑๔ ปี อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และมีน้องอีก ๓ คน จึงเป็นพี่สาวคนโตที่ต้องออกไปสู่แรงงานในไร่ปีนี้เป็นปีแรก เด็กหญิงหม่าพะอายุ ๑๔ ปี

การต่อสู้ทางความคิด เพื่อแย่งศิษย์-หลาน

 ครูก้อยหนึ่งในอาสาสมัครที่เคยร่วมกิจกรรม เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่หลายกิจกรรม หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมเมื่อปี 2552 ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม 4Dekdoi และได้ร่วมกิจกรรม Visit Dekdoi 2012 เมื่อวันที่ 25 – 28 มกราคม 55 ที่ผ่านมา และคงได้เห็นสภาพบนดอยที่เปลี่ยนไป จึงได้ถามผมว่า “เป้าหมายคืออะไร” เป็นคำถามที่ผมต้องคิดย้อนกลับไปเมื่อมาเป็นครูอาสาในกลางเดือนมีนาคม 2553 สภาพที่เห็นในตอนนั้น มันไม่มีอะไรเลย มีแต่อาคารเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเดียวเท่านั้น สวนกล้วยที่มีรอบบริเวณถามไปถามมา ก็ไม่ใช่ของศูนย์การเรียน แล้วอะไรที่ควรทำตามเป้าหมายที่ได้รับมอบมา หลาย ๆ กิจกรรมจึงเป็นการทำแบบผสมผสานดังนี้ – กลุ่มเป้าหมายนักเรียนด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร 3 – 15 ปี – ส่งเสริมการรู้หนังสือในกลุ่มผู้ใหญ่-ผู้ใช้แรงงาน – การส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก – การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น – การส่งเสริมภาวโภชนาการในเด็กวัยเรียน – โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน – การลดภาวะการขาดสารไอโอดีนในเด็กพื้นที่สูง – กิจกรรมด้านอนามัยเด็กวัยเรียน การที่เด็กในชุมชนเติบโตขึ้นมาเมื่ออายุได้ 14

ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง

การได้เป็นครูอาสาครั้งนี้ ทำให้ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง ต้องขอขอบคุณครูพี่ตุ๋ม ที่กล้าชวน ซึ่งน้องก็กล้าไป และยังให้คำแนะนำมากมาย ขอบคุณเพื่อนขวัญที่คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง ขอบคุณพี่โต้งที่คอยให้คำแนะนำกับครูอาสามือใหม่คนนี้ และขอบคุณครูอาสาเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่ทำให้ประสบการณ์ของแอนในครั้งนี้มีคุณค่าที่สุดประสบการณ์หนึ่งในชีวิต และที่ขาดไม่ได้ ขอบคุณครูต้อม สุดยอดครูดอย ที่ทำให้รู้ว่าอุดมการณ์มีค่ากว่าแก้วแหวนเงินทอง…นอกจากนี้ ต้องขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับชาวบ้านและเด็กๆ หมู่บ้านแม่ฮองกลาง ที่ได้สอนและทำให้แอนได้เรียนรู้กับคำว่า “พอเพียง” ที่แท้จริง การมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว โดยไม่ทำร้ายกัน ถ้ามีโอกาสเราคงได้พบกันอีกนะคะ By Anchalee Ekpakdeewattanakul (Albums) Updated on Friday, December 16, 2011 at 11:29am  Taken at บ้านแม่ฮองกลาง อ.อมก๋อย

ภูมิใจจดหมายเด็ก ๆ

ย่อมเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของครู ที่เด็ก ๆ อ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือเป็น เพราะเด็กชาวเขา ไม่เหมือนกับเด็กชาวเรา (คนไทยพื้นเมือง) เด็กบนดอย จะมีภาษาพูด ที่แตกต่างจากเด็กไทย ทั่วไป การคิดก็ย่อมคิดออกมาเป็นภาษาที่พูด การเขียนเท่านั้นไม่มีในภาษาชนเผ่า ต้องใช้ภาษาไทยในการเขียน เมื่อขึ้นดอยไป แล้วเด็ก ๆ เล่าให้ฟังว่า “ผมเขียนจดหมาย ครับครู” จึงเป็นเรื่องแปลกใจ และอดภูมิใจไม่ได้ที่เด็ก ๆ กล้าท่ายทอดความคิด ออกมาเป็นตัวหนังสือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยได้สอนให้เด็ก ๆ เขียนมาก่อน ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้ง ที่เด็ก ๆ ทำให้ครูภูมิใจในความสามารถของเด็ก ๆ ที่มี และดีใจที่สิ่งที่เคยสอนไปไม่เสียเปล่า เด็ก ๆ สามารถนำมาถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ออกมาเป็นตัวอักษรได้ ถึงแม้จะเป็นตัวอักษร และสำเนียงแบบเด็ก ๆ แต่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และใสซื่อ ถึงแม้จะเขียนผิดบ้างในบางคำ สิ่งที่เด็ก ๆ แสดงออกมา แม้จะไม่ทัดเทียมกับเด็กพื้นราบก็ตาม แต่ก็แสดงถึงความสามารถและศักยภาพของเด็กดอย ที่ “ครูดอย

เมื่อถึงวันลาจาก แต่ไม่ได้จากลา (หน้าที่เปลี่ยนไป ความตั้งใจเหมือนเดิม)

บางครั้งความตั้งใจที่จะทำงานในแต่ละที่แต่ละอย่าง มันก็มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตการทำงาน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ตั้งใจ เมื่อ ผอ.กศน.อำเภออมก๋อยคนใหม่ที่เพิ่งมารับตำแหน่งได้ ๓ เดือน สำหรับผมอาจจะหมายถึงผู้บังคับบัญชาเก่า หรืออาจจะเรียกว่าเจ้านายเก่า ที่เห็นมองศักยภาพความสามารถที่จะดึงมาเป็นทีมงาน   ก่อนหน้า นั้น ก็ได้แจ้งท่านผอ.ไปแล้วว่าชอบทำงานบนดอยมากกว่า แต่สุดท้ายก็ได้รับการพิจารณาให้ปรับเปลี่ยนหน้าที่ใหม่ ผมจึงถูกเรียกตัว จากครูผู้สอนบนดอย ให้มารับหน้าที่ใหม่เป็นครูนิเทศก์ ของกลุ่มโดยดูแลกลุ่มบ้านแม่ฮอง ซึ่งปรับกลุ่มใหม่ประกอบไปด้วย ศศช. บ้านห้วยหวาย บ้านแม่ฮองใต้ บ้านแม่ฮองกลาง บ้านแม่เกิบ บ้านกองดา และบ้านห้วยบง   ตั้งแต่วันแรกที่ขึ้นดอยในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่จะเป็นครูผู้สอน ศศช.บ้านแม่ฮองกลาง ตลอดเวลาก็ได้แจ้งให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจในหน้าที่ใหม่ที่ครูจะไปทำ ก็ได้บอกกับเด็ก ๆ ตลอดว่าครูจะขึ้นมาบ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ ดูเหมือนว่าเด็กก็คือเด็ก คือฟังไปแต่ยังไม่คิดอะไรมากมาย จนเมื่อมาถึงวันสุดท้ายที่จะต้องลงดอยจากบ้านแม่ฮองกลางมา ก็เกิดปรากฎการณ์ที่ผมไม่คาดคิดมาก่อน “เด็ก ๆ พากันไปร้องไห้ เสียใจที่ครูจากไป” ทั้งตัวเล็ก ตัวโต ไปร้องไห้หน้าห้องน้ำหลังอาคารเรียน   เด็ก ผู้ชายดูจะเก็บความรู้สึกไว้ได้

ของดีใกล้ตัว

เคยแต่สงสัยว่า ทำไมคนสูงอายุเผ่ากะเหรี่ยงที่อมก๋อย ทำไมยังสุขภาพยังแข้งแรงดีอยู่ บางคนฟันหลุดหมดปากกันแล้ว บางคนเดินก็ใช้ไม้เท้าค้ำไป บางคนหลังโก่ง แต่ยังไปไหนมาไหนคล่องแคล่วเหลือเกิน ทั้ง ๆ ที่อาหารหลักที่กินกันในแต่ละมื้อ แทบจะไม่มีเนื้อหมู ไก่ เลย นาน ๆ ถึงจะได้กินกันทีนึง หลังจากที่ได้สังเกตุวัฒนธรรมการกินอาหารแล้ว ถึงได้รู้ว่า อาหารหลัก ๆ ที่มีตามฤดูกาลบนดอยนั่นเอง เป็นสมุนไพรดี ๆ ที่ช่วยให้คนแก่ แข็งแรง อายุยืนยาว ผักที่ว่านั้นคือมะเขือพวง ผักชีฝรั่ง และขมิ้นชัน มะเขือพวง ถ้าได้รับการดูแลอย่างดี จะผลิดอกออกผลตลอดปี แม้แต่ในช่วงหน้าแล้ง ส่วนผักชีฝรั่งและขมิ้นชัน จะเจริญงอกงามดีในฤดูฝน เพราะส่วนใหญ่เกิดตามธรรมชาติ และอาหารตามธรรมชาติเหล่านั้นนั่นเอง ที่กลายเป็นของดีที่คนในชุมชนบริโภคกันโดยไม่รู้ตัว ว่ามันมีคุณค่ามากมาย มะเขือพวง และผักชีฝรั่ง สามารถปรุงอาหารได้หลายอย่าง ตั้งแต่พื้น ๆ คือกินกับน้ำพริก ใส่แกง ใส่ลาบ เห็นโฆษณาทางทีวีว่ามีน้ำมะเขือพวงปั่น ส่วนขมิ้นชันนั้นสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายส่วน ทั้งเหง้าที่อยู่ในดินเอาใส่ต้มแกง ลำต้นอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก และดอกนำมาผัดน้ำมัน หรือต้มจิ้มน้ำพริก หลาย

เมื่อความจำเป็นเรื่องปากท้อง สำคัญกว่าการเรียน

กรกฎาคมต่อไปยังเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่ลำไยออกสู่ทองตลาด ปีนี้ถึงแม้ลำไยในท้องตลาดจะราคาไม่ดี ลำไยขนาด AA ราคากิโลละ ๑๕-๑๖ บาท แต่ผลกระทบตกอยู่กับเจ้าของสวนเท่านั้น สำหรับชาวบ้านบนดอยและเด็กโตที่มารับจ้างขึ้นลำไย กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะปีนี้ลำไยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (ตามความเห็นของผู้เขียน) เด็ก ๆ อายุ ๑๒-๑๖ ปีในหมู่บ้านหลายคนจึงออกมากับผู้ปกครอง มากับญาติ หรือมากับเพื่อน เพื่อมาหารายได้เสริมไปช่วยจุนเจือครอบครัว การเดินทางออกมารับจ้าง บางส่วนก็ออกมากับรถขายอาหารที่เข้าไปตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งฝนยังไม่ตกมาก  พอถึงปลายกรกฎาคมเดือนฝนตกชุกคนที่ออกมาหลัง ๆ จึงเดินเท้าออกจากหมู่บ้านแม่ฮองกลาง ออกมาทางบ้านแม่ปะน้อย บ้านห้วยม่วง ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย เพื่อมาขึ้นรถทางปากทางอุทยานแห่งชาติแม่เงา อำเภอสบเมย เพื่อขึ้นรถโดยสารต่อเข้าอำเภอแม่สะเรียง เข้าอำเภอฮอด และอำเภอจอมทอง บางส่วนข้ามแม่น้ำปิงไปยังฝังจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลำไย แหล่งใหญ่ในภาคเหนือ การออกมาทำงานปีนี้ถือเป็นครั้งแรกของเด็กหลาย ๆ คนที่ได้ออกมาทำงานนอกหมู่บ้าน ครั้นจะห้ามเด็กออกนอกหมู่บ้านก็ไม่ได้ ในเมื่อความจำเป็นเรื่องปากท้อง ยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่ หรือแม้แต่ตัวเด็ก ๆ เองก็รับรู้ได้ ว่าหากท้องยังไม่อิ่มแล้ว มีหรือจะมีคิดเรื่องชีวิต เรื่องอนาคตได้ เรื่องของปากท้องจึงสำคัญกว่าเรื่องอื่นเสมอ เพราะชีวิตตั้งแต่เกิดมาก็มีแต่น้ำพริกเป็นอาหารหลักสามมื้อ เช้า-กลางวัน-เย็น

จะเข้าอมก๋อยแต่น้ำท่วมฮอด

หลังจากไปหยุดพักผ่อนประจำเดือนตั้งแต่ ๒๘ ก.ค. และเดินทางเข้าอมก๋อยในวันที่ ๓ ส.ค. มีกำหนดถึงเข้าประชุมประจำเดือนก่อนการขึ้นดอยในวันที่ ๕ ส.ค. แต่การเดินทางครั้งนี้ ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาในรอบ ๑ ปี ๕ เดือน ตั้งแต่ไปอยู่อมก๋อย ระหว่างอยู่ไชยปราการ มีพายุนกเต็นเข้า ทำให้ฝนตกบ้าง แต่ที่ไชยปราการ ไม่มีน้ำท่วม หรือผลกระทบรุนแรง จึงออกเดินทางในวันที่ ๓ ส.ค. เพื่อเข้าอมก๋อย เพราะต้องไปต่อรถที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ก่อนจะขึ้นรถ ก็ได้ถามคนขับว่ารถเข้าอมก๋อยได้หรือเปล่า เพราะได้ข่าวว่าน้ำท่วมถนนสัญจรไม่ได้บางช่วง ก็ได้คำตอบมาว่า น่าจะเข้าได้ เพราะเมื่อเช้าก็ออกมาจากอมก๋อย พอขึ้นรถสักพัก พนักงานเก็บค่าโดยสารก็มาเก็บเงิน ผมจ่ายไปจำนวนเงิน ๑๑๓ บาท ปรากฎว่าเรื่องแปลกเกิดขึ้น พนักงานเก็บค่าโดยสาร บอกว่าตีตั๋วไปลงที่ฮอดแทนแล้วกัน ๔๙ บาท ถ้าไปอมก๋อยได้ค่อยจ่ายเงินเพิ่ม ชักเริ่มเอะใจ เมื่อรถมาถึงน้ำแม่แจ่มอีก ๒๐๐ เมตรจะเข้าอำเภอฮอดอยู่แล้ว รถข้ามสะพานไม่ได้ ถึงได้เห็นน้ำท่วมเต็ม ๆ ตา โหตั้งแต่เกิดมา เป็นลูกอิสาน บ้านติดแม่น้ำชี

เลือกตั้งที่อมก๋อย

การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ นักการเมืองที่เสนอผลประโยชน์เป็นที่ถูกใจของประชาชน ย่อมได้รับฉันทามติ ฉันใด ก็ฉันนั้น ไม่พ้นแม้แต่บนดอยห่างไกลอย่าง อมก๋อย นักการเมืองที่เสนอจะพัฒนาอมก๋อย ย่อมได้รับเสียสนับสนุนจากคนอมก๋อย หลังจากเข้าอบรมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ถัดมารับหีบและอุปกรณ์ เพื่อเดินทางขึ้นไปเตรียมพื้นที่เพื่อเป็นหน่วยเลือกตั้ง หมู่ ๑ ตำบลนาเกียน ซึ่งในหน่วยเลือกตั้ง ณ ศูนย์การเรียน วันขนหีบเลือกตั้งขึ้นไปจึงรู้สึกสบาย ๆ เพราะมีแดดบ้าง ถนนแห้งดินแข็งรถจักรยานยนต์พอวิ่งได้ ขบวนรถจักรยายนต์ของกรรมการเลือกตั้ง ถึงจุดหมายปลายทางอย่างไม่เกินความคาดหมายมากนัก วันเลือกตั้งฝนกระหน่ำลงมาแต่เช้า แต่ชาวบ้านก็ทะยอยมาใช้สิทธิ์ตั้งแต่เปิดหีบ ยันปิดหีบ หมู่ ๑ ตำบลนาเกียน มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๒๓๘ คน มีผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน ๒๐๖ คน ถือว่าสูงมาก ชาวบ้านชุมชนให้ความสนใจกับการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก หลังนับคะแนนเสร็จในเวลา ๑๘.๐๐ น. ต้องเอาหีบเลือกตั้งมีขึ้นรถครูศักดิ์ บ้านห้วยบง ปรึกษาหารือกันเรื่องสภาพถนน ก็เจอสภาพปัญหาอย่างที่คิดไว้ไม่มีผิด กว่าจะส่งหีบเลือกตั้งแล้วเสร็จเกือบ ๒ นาฬิกาของวันที่ ๔ กรกฎาคม สำหรับสภาพถนนก็อย่างที่เห็นในภาพและวีดีโอ ส่วนหลังจากนี้ไป ก็ไม่รู้ว่านักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจะทำตามสัญญาหรือไม่ นั้นคือการพัฒนาอมก๋อย ด้านถนนหนทาง

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.