เป็นห่วงเด็ก…เป็นห่วงประเทศไทย

จากเรื่อง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป….ของคนดอยที่ไชยปราการ จากเรื่อง เมล์เก่าในอดีต….ที่ไชยปราการ กลับไปพักที่ไชยปราการ เมื่อปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ทำให้ทราบข่าวคราวต่าง ๆ ที่ไชยปราการ ส่วนใหญ่เป็นไม่ค่อยดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดในแถบ ๔ อำเภอโซนเหนือของเชียงใหม่ คือ ฝาง แม่อาย ไชยปราการ และเชียงดาว นั่นคือปัญหายาบ้า (รวมทั้งชายแดนของจังหวัดเชียงราย คือ แม่จัน แม่สลอง แม่สรวย และแม่สาย) ทราบข่าวว่าชาวบ้านป่าหนาถูกจับเพิ่มเติม ซึ่งดูจากสถานภาพทางครอบครัว ก็คงไม่แปลกที่ถูกจับ เพราะทั้งญาตพี่น้องรวย ๆ กว่าชาวบ้านชาวดอยทั่วไป คนที่เคยถูกจับเมื่อปีที่แล้ว ก็ได้รับการปล่อยตัวกลับออกมา แล้วก็มีคนถูกจับเข้าไปใหม่อีก ต้องบอกตรง ๆ ในฐานะคนที่เคยทำงานในพื้นที่ว่า มันกลับมา และปัญหายาเสพติดนี้รุนแรง เหมือนเดิมเมื่อหลายปีก่อนที่มีการฆ่าตัดตอนกัน อดเป็นกังวลกับชีวิตของเด็ก ๆ ไม่ได้ ที่ต้องเกิดมาในสภาพแวดล้อมที่หดหู่ นอกจากใช้ชีวิต ทำมาหากินอย่างลำบากแล้ว สภาพแวดล้อมต่าง ๆ มันแวดล้อมไปด้วยเรื่องที่อาจจะชักชวนให้คนดี ๆ ต้องสูญเสียความดีไป เป็นกังวลที่เด็ก ๆ หลาย

เมล์เก่าในอดีต…ที่ไชยปราการ

ข้อความในเมล์เก่า ๆ ที่ส่งข่าวครูอาสา ตัดชื่อจริงนามสกุลจริงออก ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในเมล์นี้ใด ๆ ทั้งสิ้น Date: Tue, 3 Nov 2009 03:14:57 -0800 From: suwan_phutphan at yahoo dot com Subject: เมื่อวานไปศาลแขวงเยาวชนเชียงใหม่มาครับ เรื่องคือ มีเด็กชนเผ่าลาหู่ที่บ้านป่าหนา เพิ่งได้บัตรประชาชนแล้วโดนชักชวน ไปทำงานในตัวจังหวัดเชียงใหม่ โดยเพื่อนรุ่นพี่เมื่อเดือน กันยายน 52 ที่ผ่านมา พอถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ไม่มีงานทำ เพื่อนรุ่นพี่ที่ชวนไป ก็เลยถามว่าจะหางานทำต่อ หรือจะกลับบ้าน เด็กคนนี้เลยบอกจะกลับบ้าน เพื่อนรุ่นพี่ที่ชวนไปบอกว่า ไม่มีเงินค่ารถ ถ้าอยากได้เงินค่ารถกลับบ้าน ให้ถือ “ยาบ้า 40 เม็ด” ให้จะ พาไปหาเงินค่ารถกลับบ้าน แล้วก็โดนจับทั้ง 2 คน ผมไปเยี่ยมที่สถานพินิจ เมื่อเดือนกัยยายน ก็ได้สอบถามความเป็นไป ทางสถานพินิจได้สอบปากคำผมไว้ในฐานะที่เป็นครู ที่เคยอยู่ในชุมชนนั้น (ปัจจุบันไม่ได้สอน) โดยผมแจ้งทางสถานพินิจว่า

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป….ของคนดอยที่ไชยปราการ

เมื่อกลับบ้านพักที่ไชยปราการเดือนกันยายน ๒๕๕๓ ได้พบปะสนทนากับครูผู้ช่วยท่านหนึ่ง ที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเอกชน ให้ช่วยสอนที่บ้านป่าหนา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ผมเคยไปสอน สมัยที่ลาออกจากเป็นคนกรุงเทพฯ มาเป็นครูดอยใหม่ ๆ ระยะเวลาแค่ ๑ ปีชนเผ่าหมู่เซอที่ไชยปราการเปลี่ยนไปมากเหลือเกินครับ ผมไปเป็นครูอาสาเมื่อกลางปี ๕๐ ทั้งหมู่บ้านมีรถยนต์เพียง ๓ คัน พอปี ๕๒ รถยนต์พุ่งพรวดขึ้นเป็น ๘ คัน หากติดตามข่าวสารเป็นระยะจะสังเกตุได้ว่า ๓ อำเภอโซนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ฝาง แม่อาย และไชยปราการ จะมีข่าวจับยาเสพติดบ่อยมาก จึงไม่ต้องสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเผ่ามูเซอ ทั้งนี้รวมไปถึงอำเภอติดชายแดนของจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็น แม่สาย แม่จัน แม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และอำเภอเมืองเชียงราย หลาย ๆ หมู่บ้านที่ กศน.ทำงานเราที่เป็นครู ก็รู้ทั้งรู้ แต่ต้องคิดอยู่เสมอว่า อย่าไปยุ่งกับยาเสพติด และอย่าให้ยาเสพติด มายุ่งกับเรา หลายหมู่บ้านผู้นำหรือญาติผู้นำเหล่านั้นเป็นผู้ที่ถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง แต่ด้วยความที่เป็นผู้นำชุมชน บางคนเป็นถึงผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ช่วย ทำให้หน่วยงานราชการต่างเกรงใจ และในเทศกาลกินข้าวใหม่ในเดือนตุลาคม และเทศกาลกินวอของชนเผ่าลาหู่ จะมีผู้นำจากพื้นราบ กำนัน

ความเหมือนที่แตกต่าง

ไม่คิดว่าบนดอยเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ของพื้นที่สูงในเขตโซนเหนือและโซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่กันขนาดนี้ ในไชยปราการ ป่าไม้ยังพอหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็กำลังถูกรุกคืบ เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า ของทั้งคนไทยพื้นเมือง และคนบนดอย หลากหลายชนเผ่า ความเจริญในไชยปราการ ทำให้ผู้คนโดยเฉพาะผู้นำที่พูดได้เสียงดังกว่าคนอื่นในชุมชน จะอาศัยศักยภาพของตนเอง เข้าไปจับจองพื้นที่บนป่า ทำมาหากิน เพื่อให้ได้สิทธิ์ทำกินบนภูเขา ที่อมก๋อย ภูเขาผ่านทางเข้าพื้นที่แต่ละลูก แทบจะไม่เหลือต้นไม้แล้ว เนื่องจากวัฒนธรรมในการทำไร่เวียนทุก ๗ ปี คือไร่หมุนเวียนทำไร่ ๗ แห่ง ๆ ละปี แต่ก็เป็นที่แปลกใจ ขนาดภูเขากลายเป็นเขาหัวโล้น แต่น้ำแม่ฮองยังเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำอุดมสมบูรณ์ ในไชยปราการ จะมีชนเผ่าลาหู่ อาศัยอยู่แถบทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดเชียงราย สภาพชีวิตโดยทั่วไปที่เห็นในไชยปราการ หลังที่ลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ เพื่อมาเป็นครูอาสา ก็คิดว่ามาเจอสภาพของคนดอยที่่สภาพชีวิตโหดร้ายแล้ว ที่อมก๋อย ที่นั้นจะเป็นพื้นที่ของเผ่ากะเหรี่ยง ในบริเวณตัวอำเภอ ส่วนใหญ่รอบ ๆ นั้นก็เป็นพื้นที่พออยู่อาศัยได้ของคนไทยพื้นเมือง แต่ถ้าเข้าไปลึกจากตัวอำเภอประมาณ ๔๐ กิโลเมตรเข้าไป ซึ่งทางเข้ายากลำบาก ไม่ค่อยมีหน่วยงานราชการเข้าไปประจำในพื้นที่ มีแค่ครูของ สพท. และ กศน. ยิ่งเข้าไปลึกยิ่งจะเห็นสภาพของความลำบากยากแค้นขนาด

พื้นที่เปลี่ยนไป แต่ความตั้งใจเหมือนเดิม

หลังจากประกาศผลการสอบพนักงานราชการ ทำ ให้ผมคิดหลายตลบ อยู่หลายวัน และแล้วผมก็กลับมาคิดถึง เรื่องที่เคยเขียนใน Facebook ชีวิตคือการวิจัย บางครั้งการทำงาน กับผลลัพธ์ที่ออกมา อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่คาดหวัง แต่เราก็ยังต้องลองและค้นหา คำตอบและผลลัพธ์อีกต่อไป ครูอาสาทุกท่าน คงจะได้รับเมล์ ผลของการตัดสินใจในครั้งนี้ไปแล้ว นั้นคือการเลือกที่จะเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน จากชนเผ่าลาหู่ไชยปราการ ไปยังชนเผ่ากะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย ชีวิตมันก็มีอยู่แค่นี้ ไม่แน่นอน พบเพื่อจาก คนผ่านทาง เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีเริ่มต้น มีจุดสิ้นสุด คงเหลือความทรงจำดี ๆ ไว้ตลอดไป โครงการครูอาสาที่เริ่มไว้ ก็คงจะเปลี่ยนเป้าหมายจากบ้านป่าหนา อำเภอไชยปราการ ย้ายพื้นที่ ไปอำเภออมก๋อย แต่ทราบว่า ทางเข้าหมู่บ้านเดินเท้าเป็นวันในหน้าฝน รถเข้าไม่ถึง ไม่รู้จะมีครูอาสาเข้าไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ อยู่หรือเปล่า ไม่คิดว่าจะย้ายพื้นที่ทำงานเร็วขนาดนี้ อยู่ไชยปราการมา 2 ปีกับอีก 6 เดือน แต่ก็นั่นแหละ ชีวิตคือการเดินทาง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ขอบคุณกำลังใจ

บางทีเวลาก็ไม่ใช่ตัวแปรในการที่เราจะผูกพันกับใคร

เมื่อได้เห็นโครงการ “ลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย” ไม่รอช้าในการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมแต่ก็แอบคิดกับตัวเองว่านี่ฉันจะเอาอะไร ไปสอนเด็กได้เนี้ย มีการปรึกษาครูต้อมอยู่หลายครั้งจนครูต้อมบอกว่า “ไม่มีอะไรสอนก็ไปให้เด็กสอนภาษาลาหู่ก็ได้ครับ” การได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ในระยะเวลาเพียงแค่ ๔ วัน ใครจะรู้ว่ามีเรื่องราวหลายอย่างเกิดขึ้นมากมาย เกินคุ้มกับการลางาน ๒ วัน ต้องยอมรับว่าการเข้าร่วมในครั้งนี้สิ่งแรกที่ได้รับคือ มิตรภาพจากคนที่ไม่เคยรู้จักกันเลยกลับกลายเป็นเพื่อนร่วมทาง และกลายเป็นมิตรภาพที่แสนดี และภาพแรกที่เห็นเมื่อพวกเราไปถึงบ้านแม่ฝางหลวง เด็กน้อยสามคนวิ่งมายืนดูและยิ้มให้ตรงทางเข้าหมู่บ้าน พอเดินไปถึงโรงเรียนก็พบเด็กๆมากมายมานั่งรอที่หน้าโรงเรียน เด็กๆบอกว่ามารอรับครูอาสา โอโห้ รู้สึกว่าทุกคนให้ความสำคัญกับพวกเราจัง “กิจกรรมวันเด็ก วันแห่งการให้” วันนี้ได้เห็นความมุ่งมั่น ความสามัคคี ของเด็กๆ ของครูอาสา และชาวบ้านที่มาร่วมกิจกรรม ได้เห็นรอยยิ้ม ได้ยินเสียงหัวเราะ ที่มองกี่ครั้งก็สดใส จริงใจ และแสนบริสุทธิ์ มีบางครั้งที่การแข่งขันทำให้เกิดการบาดเจ็บ แต่เด็กน้อยในชุด Spiderman ก็เข้มแข็ง เก่งมากนะ เจ้ามนุษย์แมงมุมตัวน้อยกรกช ในเมื่อกิจกรรมเป็นการแข่งขันระหว่างสีก็ต้องมีของรางวัลสำหรับผู้ชนะ ความประทับใจเกิดขึ้นอีกแล้ว เด็กๆมุ่งมั่น จริงจังในแต่ละกิจกรรมที่จัดให้ แต่เมื่อได้ของรางวัลมาก็ไม่ลืมที่จะแบ่งสิ่งที่ตัวเองได้รับให้เพื่อนๆ ไม่เห็นว่าเด็กที่นี่จะหวงของเลย ทุกครั้ง ทุกคนก็จะแบ่งให้เพื่อนได้ หยิบของตัวเองไว้หนึ่งแล้วส่งต่อให้เพื่อนคนอื่น วันนี้ไม่เพียงแต่เด็กๆสนุก แต่ครูอาสาแต่ละคนก็สนุก เหมือนเป็นวันเด็กของตัวเองอีกครั้ง เรียกได้ว่าหลายคนขอย้อนวัยกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง จนลืมว่าเรากำลังเล่นกันกลางแดด เล่นเอาตัวดำกันเป็นแถว

เด็กดื้อ…ทำให้ครูอาสาอึ้ง ทึ่ง หลายอย่าง น้ำใจกับถ้อยคำที่ห่วงใย ผมช่วยถือไหมครับ หนักไหมครับ

แรกได้ยินคำว่าเด็กดอย ผมนึกถึงเด็กน้อยหน้าตามอมแมมที่ไม่ค่อยได้อาบน้ำ ทั้งที่ลำธารน้ำใสไหลผ่าน หมู่บ้าน ซอแหมะ เป็นชื่อโรงเรียนและหมู่บ้านนั้น อาจไม่คุ้นชื่อนี้กันนัก แต่ถ้าเอ่ยถึงทิโพจิ หลายคนคงร้องอ๋อ….ทว่าซอแหมะยังดิบและยังคงความเป็นชนเผ่าอยู่ชนเจน ขนาดคนนำทางขอร้องให้คัดเสื้อผ้าบริจาคออกก่อน เพื่อเขาจะได้ใช้ชุดชนเผ่าต่อไป …ผมจึงตัดสินใจที่จะไปในทันทีที่อ่านโครงการจบ..และเริ่มสะสมของเล่นไว้ ฝากเด็กจนได้กล่องใหญ่ โครงการลาพักร้อนไปสอนเด็กดอย ตั้งชื่อได้สะดุดตาสะดุดใจ แม้แต่คุณกนก (ข่าวข้นคนข่าว) อ่านแล้วยังบอกว่าอยากลาพักร้อนไปจัดรายการบนดอย นับว่าครูต้อมประสบความสำเร็จตั้งแต่คิดชื่อโครงการเลยทีเดียว  สถานที่จัดรุ่นสองนี้ก็นับว่ามองการไกลไปมากกว่าการศึกษาเน้นการท่องเที่ยว และกิจกรรมวันเด็ก จนรู้สึกว่ายังไม่ได้ทำหน้าที่ครูเลย โชคดีที่มีบรรพตอยู่ใกล้ ๆ……ได้พูดคุยยามเช้าที่นอกชานบ้านไม้ไผ่ยามเช้าคราวสายหมอกหยอกเอินกับ ริ้วประกายฉายแสงตะวัน…ข้าวสารอาหารไก่โปรยปรายเรียกลูกเจี๊ยบพร้อมแม่ไก่ มาล้อมวง และอุ้มไก่ชนเดือยคมมาชมเชยอวดครูอาสา นี่จะตี(ชนไก่)ได้แล้ว หากค่ำคืนแรกครูก้อยไม่หลอกล่อให้สี่สาวร้องเพลงประกอบการเต้นรำ ท่าเต่าสี่ขา… คงไม่ชินตาผมนัก แต่เห็นภาพอังคณาหน้าทะเล้นที่เต้นหน้าเต๊นท์ อย่างสดใส ในคืนสลัว บรรยากาศแรกของครูอาสาเริ่มชัดเจนและอยู่ในความทรงจำสืบเนื่องจากการแบกถุง ผักมากมายแต่ไม่ค่อยมีใครกินไปบ้านบนเนิน(สองเนิน) แม่ของภาณุ บรรพต และบอมส์ กับข้าวมื้อแรกเริ่มชุลมุนเมื่อครูอาสารุ่นหลานหายหน้าหายตาไปชมลำธารกันหมด นาแมโหล (เรียกผิดหรือเปล่า) เจ้าของบ้านพยายามสื่อสารและพูดคุย จนเมื่อยมือจึงสรุปได้ความว่าช่วยทำให้พวกเรากินด้วยละกัน รอทำเองคนอดแน่ ๆ วันต่อมาภาระนี้จึงสืบทอดมายังบอมส์บ้าง แม่นาแมโหลบ้าง  อิ่มอร่อยประทับใจไม่รู้ลืมจริง ๆ สักวันคงมีโอกาสได้ย้อนไปกินอีกสักมื้อ หรืออาจย้ายไปรวมสังสรรค์ที่บ้านมะแต ญาติกัน กิจกรรมวันถัดมาก็สนุกครึกครื้นแต่ค่อนข้างคุ้นเคย ประทับใจการล้อมวงกินข้าวของนักเรียน

ตอน ชีวิตที่ชัดเจนขึ้น…

ตอน ชีวิตที่ชัดเจนขึ้น… เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานี้ ได้ไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโรคส่วนตัวมา ซึ่งมันเป็นโรคเดิมที่เคยเป็นเมื่อปีที่แล้ว จนถึงขั้นต้องขึ้นเตียงผ่าตัด กันเลยทีเดียว เนื่องจากการไม่ยอมสนใจที่จะเข้ารับการรักษาให้ถูกต้อง และไม่ใส่ใจที่จะไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย… สิ่งเดียวที่ทำให้ครั้งนี้ไปพบแพทย์อย่างไม่ดื้อดึงเหมือนเมื่อก่อน คือ “เด็กบ้านแม่ฝางหลวง” คิดได้แต่ว่าถ้าเราเองยังดูแลตัวเองไม่ได้ แล้วเราจะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปดูแลเด็กๆที่เรารักบนดอยนั้น สงสัยคงจะอดกลับ ไปหาลูกชายลูกสาวบนดอยแน่เลย และคงจะอดสานฝันของตัวเองต่อไป… นึกถึงแต่เด็กๆที่ยังรอคอย… นึกถึงโอกาสดีดีในชีวิตที่พวกเค้าควรจะได้รับ… นึกถึงการเฝ้าคอยดูแลเค้าให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดี… นึกถึงยามที่เค้าเติบใหญ่และใช้กำลังที่เค้ามีพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง… ผ้าขาวที่ยังไม่มีสีสัน เด็กน้อยที่ยังไม่มีทิศทาง… นึกถึง นึกถึง นึกถึง.. .. .. การเข้ามาเป็นครูอาสา ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าชีวิตเรายังคงมีคุณค่าและมีความหมาย ค้นพบทิศทางในชีวิตที่ชัดเจนขึ้น จากเมื่อก่อนที่ใช้ชีวิตล่องลอยไม่รู้ตัวเอง แม้แต่ตัวเองยังไม่รู้จักดูแลให้ดีเลย แต่ในวันนี้ได้ค้นพบชีวิตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น… “ถึงแม้ไม่มีใครมองเห็นเรา แต่เราก้อมองเห็นตัวเราเอง”

หัวใจคือเหตุผล

กาล…คลานหวังพบประสบพักตร์ หวัง…รู้จักทักถ้อยร้อยสหาย แบ่งปัน…น้ำจิตมิตรรักด้วยทักทาย ถึง…สิ่งหมายคือมิตรคิดจริงใจ -กลั่นกรองเป็นอักษร..ฝากคำอ้อนคล้องรักแทนพวงมาลา(ใจ)- คงไม่สามารถที่จะหาถ้อยคำใดๆมาเปรียบหรือเทียบได้กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งบนโลกใบใหญ่แห่งนี้ได้หรอกค่ะ นอกจากจะบอกว่าขอบคุณทุกๆคนที่มีจิตที่เป็นมิตร ด้วยจิตที่บริสุทธิ์จนก่อเกิดผลผลิตที่งอกงามที่ส่งต่อพร้อมส่งสื่อออกมาทางแววตา และการกระทำด้วยน้ำใจมิตรไมตรีที่มีต่อกันด้วยสิ่งที่ร่วมกระทำกันมาจึงทำ ให้รู้ว่าบนโลกใบใหญ่นี้ยังมีคนกลุ่มเล็กๆที่มีพลังใจในความเอื้ออาทร และความรักแฝงอยู่….ให้ยิ่งผูกพัน คอยห่วงหาอาทร มันไม่เคยเปลี่ยนไป ตามกาลเวลามีแต่เพิ่ม….ความรู้สึกดีๆที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในวันนั้นยัง ส่งต่อมาถึงวันนี้ และวันอื่นๆอีกต่อไปโดยที่ไม่มีคำนิยามใดๆมาพรากได้ ขอบคุณจริงๆค่ะขอบคุณทุกๆ คนที่ร่วมกันสร้าง ร่วมกันลงมือ จนเกิดสิ่งที่ดีขึ้นทั้งภายนอกและภายใน(จิตใจ) ^.^-ฟางข้าว-^.^

การจากกันครั้งนี้ก็เพื่อรอเวลาที่จะได้กลับมา พบกันใหม่อีกครั้ง

เป็นความทรงจำครั้งหนึ่งที่ไม่อาจลืมเลือนเลย ค่ะ มันต่างกับการที่เราได้ดูจากโทรทัศน์ จากการอ่านในหนังสือ จากการฟังคนอื่นๆ บอกเล่าเรื่องราว มันเป็นประสบการณ์แห่งความทรงจำที่ยังอยู่ในภาพประทับใจเสมอ และตลอดไป การเป็น  “ครูอาสา”   ครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 4 วันที่ได้อยู่ ณ บ้านแม่ฝางหลวงนั้น มันกลับสร้างเรื่องราวดีๆ  ให้เกิดขึ้นมากมาย  เราได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัส เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ของชนเผ่าลาหู่   ได้เข้ามาสัมผัสกับสิ่งที่เป็นจริงอีกด้านกับการเป็นครูอาสาที่นี่ ใน ความเป็นจริงแล้วการมาครั้งนี้ของเราในความคิดภาพแรก เรายังนึกไม่ออกด้วยซ้ำ ว่าเราจะให้ความรู้พวกเค้าได้มากแค่ไหน อย่างไร แต่แค่มีใจที่อยากจะมาเท่านั้น และคิดว่าน่าจะทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้ พอถึงเวลาจริงๆ นั้น เรากลับพบว่า สิ่งที่เราได้สอนให้พวกเค้าไปนั้นกลับไม่ใช่ ความรู้ วิชาการ ที่มีอยู่ในห้องเรียน แต่กลับเป็น ความสามัคคีในการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างครูด้วยกัน ครูกับเด็ก และแม้แต่เด็กกับเด็กเอง และเราก็ได้พบ ว่าเราได้กลับไปพร้อมกับ มิตรภาพ ความรัก ความเอาใจใส่จากครูอาสาด้วยกันเอง ที่เราไม่เคยคาดคิดว่าจะได้จากคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม ความไร้เดียงสา และความสดใสของเด็กๆ ทำให้เรารู้สึกอิ่มเอมใจทุกครั้งที่ได้มอง  การที่เราได้เป็นที่รักของเด็กๆ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.