ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย เพื่อส่งเสริมการศึกษาและคุณภาพชีวิตเด็กดอย

วันหยุดของคุณในหนึ่งปีมีกี่วัน วันหยุดแต่ละวันคุณใช้ไปกับการทำอะไร ลองใหม่ดูไหม กิจกรรม "ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย"

แม่ฮองกลาง

แม่ฮองกลาง

ภาพเก่าในอดีต 2553 แม่ฮองกลาง

Read More

ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

ในแต่ละปีวันหยุดของคุณมีกี่วัน ลองใหม่ดูใหม่ ใช้วันหยุดลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

Read More

ลงทะเบียน

ลงทะเบียน

ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม ลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

Read More

รางวัลที่แคทอยากได้

รู้สึกขอบคุณตัวเองที่มาร่วมเป็นคนอาสา เพราะทุกครั้ง ที่เราได้ทำอะไรไป แม้ว่าจะไม่ได้รางวัลอะไรกลับมา แต่รางวัลที่แค ทได้รับกลับมาในการทำงานอาสาก็คือ ได้เห็นรอยยิ้มของคนอื่นๆ พร้อมๆ กับได้ยิ้มไปด้วยกัน แต่การที่ได้เห็นพวกเขายิ้ม พวกเขาหัวเราะ พวกเขาดีใจ นั่นคือคำขอบคุณที่วิเศษที่สุดโดยที่ไม่ต้องเอ่ยคำว่า ขอบคุณออกมา นั่นก็พอแล้วสำหรับรางวัลที่แคทอยากได้ ~^ ^~ ด้วยอยากสร้าง    ป่างาม        ตามความคิด หวัง ผลิต         “ป่าคน”      ให้ล้นหลาย ช่วยสร้างคน  คุณภาพ     ให้มากมาย ร่วมขยาย        ความดี         บน”ใจคน” จึงมุ่ง มั่น       สร้างคน        เหมือนสร้างป่า

พอสว. แพทย์อาสา ที่ต้องการของอมก๋อย

หลังจากขึ้นดอยไปวันที่ ๗ เพราะทราบเมื่อเดือนก่อนจากคณะแพทย์สถานีอนามัยนาเกียนว่าจะมีคณะแพทย์ พอสว.เดินเท้า เข้ามาทำการรักษาให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ คณะแพทย์คณะที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ คณะที่ทำการเดินเท้าในครั้งนี้ก็ได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแม่ฮองกลาง ท่ามกลางความหวังของประชาชน และตัวผมเองที่อยากให้เด็กหายป่วย เด็กบางคนเป็นแผลแล้วหายยาก บางคนเป็นหูน้ำหนวก บางคนเป็นหวัดเรื้อรังบางคนเป็นฝี ทรมานน่าดู ได้ร่วมงานโดยอาศัยจากประสบการณ์ที่เคยทำงานโรงพยาบาลมาก่อน มาทำหน้าที่ชั่งน้ำหนักและเรียกชื่อก่อนส่งตัวให้พยาบาลซักถามอาการ แล้วส่งต่อให้กับคณะแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยรักษาคณะแพทย์อาสาในครั้งนี้ ทำให้ผมได้เห็นความทุ่มเท และจริงใจ ที่คณะแพทย์ ได้มอบให้กับชุมชนห่างไกล ขอย้อนระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จย่า ที่ได้ก่อกำเนิดแพทย์อาสาขึ้น และขอขอบคุณที่มีแพทย์ผู้เสียสละเวลาอันมีค่าของท่าน เข้าร่วมเดินเท้าทำการรักษาในครั้งนี้ ตลอดเส้นทางคณะที่ ๓ ต้องเดินเท้าเป็นเวลา ๔ คืน ๕ วัน และทำการรักษาชาวบ้านประมาณ ๘ หมู่บ้านเป็นการเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ เวลาอันมีค่าได้มาทำการตรวจรักษาพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลอย่างอมก๋อยพร้อม กับได้มอบยาบางส่วนไว้ให้กับ ศูนย์การเรียน เพื่อแจกจ่ายในยามจำเป็นต่อไป

ไม้สั้นไม้ยาว และหมูไล่คน

หลังจากตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันหนึ่ง เพราะมีเสียงเด็ก ๆ มาเรียกที่หน้าศูนย์การเรียนผมมาเปิดประตูอาคารเรียน แล้วตั้งใจจะหันหน้าไปสูดอากาศที่สดชื่น ทางทิศตะวันออก พลันสายตาก็เหลือบไปเห็น นักเรียนคนหนึ่งชื่อกฤษณะชัย อายุสักประมาณ ๑๑ ปี วิ่งลงไปตามถนนพร้อมกับมีหมูตัวใหญ่วิ่งไล่ตามไปติด ๆ เด็กคนนั้นก็วิ่งหายเข้าไปในป่าอย่างรวดเร็ว พร้อมกับหมู ผมตกใจนิด ๆ ไม่เคยเห็นหมูไล่กัดคนมาก่อนในชีวิต แต่ก็แปลกใจ มีนักเรียนอีกคนอายุ ๑๕ ปี ชื่อเปาแซยืนอยู่ทางที่น้องกฤษณะชัยวิ่งลงไป แต่ทำไมเขาไม่ได้ช่วยเหลือกัน ทำไมแล้งน้ำใจเหลือเกิน พักใหญ่เห็นน้องกฤษณะชัย เดินขึ้นมาจากป่า ผมก็โล่งอีกไปที แต่ตัวแค่นี้จะกล้าฆ่าหมูเลยเหรอจึงเรียกมาสอบถาม  ได้ความว่า ลงไปถ่ายอุจจาระ เนื่องจากที่บ้านไม่มีห้องน้ำ แต่เห็นหมูวิ่งไล่ไปอ่ะ ก็ไม่มีอะไรมาก  หมูไปกำจัดสิ่งปฏิกูลให้นั้นเองแต่ผมสุดจะงง หมูมันรู้ได้ไงว่าคนไหนจะเข้าป่าไป ให้อาหารหมู จึงแนะนำน้องกฤษณะชัยไปว่า วันหลังให้เตรียมไม้ไป ๒ อัน อันหนึ่งเป็นไม้ยาว เอาไว้ไล่หมู อีกไม้สั้นนั้นก็พิจารณาเอาเองว่าจะเอาไปทำอะไร หลังจากเสร็จภารกิจ ถ้าไม่มีไม้ยาว ๆ ครูมีที่โรงเรียน ให้ยืม ส่วนไม้สั้นนั้นหาเอาตามป่าได้มีเยอะแยะ

หัวไก่ ตีนไก่ ตูดไก่ และน้ำพริกคางคก

ถ้าไม่สุภาพก็ขออภัยครับ แต่ใช่ครับ ที่บอกมา คือของกินสำคัญของกะเหรี่ยงอมก๋อย และโดยเฉพาะ หัวไก่ ตีนไก่ ตูดไก่จะให้กินเฉพาะแขกสำคัญเท่านั้น คนในบ้านและเด็ก ๆ ไม่มีวันได้กินหรอก ของอร่อยแบบนี้ และผมก็กลายเป็นแขกสำคัญของบ้านนั้นซะด้วยในเหตุการณ์ที่ลืม ไม่ลงนี้ วันนั้นบ้านของน้องสรชาติ ทำพิธีผูกข้อมือให้น้องสาวสองคน สงสัยว่าเพิ่งจะหายป่วยจึงมีการฆ่าไก่ เพื่อทำพิธีผูกข้อมือและทำบุญ ตามที่ได้สอบถามมา ผมเป็นแขกที่ได้รับเชิญไปร่วมกินข้าวที่บ้าน และจะให้ความสำคัญกับแขกมากในการกินข้าวโดยพ่อบ้านจะนำขาไก่ ที่แยกไว้ต่างหากนั้น มาให้แขกกิน จากตามมาด้วยหัวไก่ และตูดไก่ไก่ธรรมดา รสชาติที่เคยกินมันก็คงกินได้ แต่ไก่ดอย มันไม่มีเนื้อหนังอะไรเลยมีแต่เอ็นเหนียว ๆ ติดกระดูก หัวไก่ก็ต้มแบบไม่ใส่เกลือ ไม่ใส่ข่า หรือตะไคร้เลย ทำให้มีความรู้สึกว่าได้กินไก่สด ๆ มาถึงอันสุดท้าย ตูดไก่ครับ บอกได้ว่ามันมีความรู้สึกเหมือน ยังมีเพลี้ยไก่ติดอยู่ในใส้ไก่อยู่เลยรู้สึกว่าอยากจะคาย แต่คายไม่ได้ เพราะมันเป็นของดีที่เขาเลือกให้เราที่เป็นแขกสำคัญเท่านั้นได้กิน ผมเคยอ่านในหนังสือแล้วว่าจะต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ แต่ไม่คิดว่าจะเจอแบบไม่ได้ตั้งตัว ตั้งใจแบบนี้การได้รับเชิญในครั้งนี้เป็น ครั้งแรกที่ได้สัมผัสในเรื่องราวที่เคยอ่านหนังสือมา และก็ได้รับความประทับใจกลับมาชนิด ไม่มีวันลืมอีกเลยถามว่าอร่อยไหม ผมว่าอาหารนี้คงอร่อยที่สุด ในวิถีชีวิตบนดอยที่ลำบากยากแค้นขนาดนั้น เพราะนาน ๆ ถึงจะมีการฆ่าไก่กินสักครั้ง บางทีทั้งเดือน ครอบครัวของเด็ก ๆ

คนไทย น้ำใจไม่เคยแห้ง ภาค ๒

หลังจากเหตุการณ์ครั้งที่ ๑ ห่างกันประมาณ ๒ สัปดาห์ ก็มีเหตุการณ์เกิดกับผมในลักษณะคล้าย ๆ กัน คือเหมือนจะได้รับการปฏิเสธในตอนแรก แต่ก็ได้รับการตอบรับในเวลาต่อมา เหตุการณ์ที่ ๒ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ผมกลับจากอบรมครูในโครงการ กพด. ของสำนักงาน กศน.ภาคเหนือ ที่จังหวัดลำปางได้โดยสารรถยนส่วนตัวของครูอาสาด้วยกัน กลับมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๑๔. ๔๐ แน่นอนผมไม่ทันรถเมล์ที่จะวิ่งเข้าอำเภออมก๋อย ที่ออกไปแล้วเมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. เนื่องจากรถเมล์เข้าอมก๋อยจากเชียงใหม่มีวันละ ๒ คันคือ ๐๘.๐๐ กับ ๑๔.๐๐) แต่ผมคาดว่ารถคันที่ผมขึ้นนั้นจะมาทัน หรือเกือบทันรถเมล์โดยสารคันที่วิ่งเข้าอำเภออมก๋อยที่กะไว้ประมาณว่าที่ อำเภอฮอด เพราะปกติรถจะออกจากอำเภอฮอดเพื่อเข้าอมก๋อยในเวลา ๑๖.๑๕ ผมมาถึงอำเภอฮอดเวลา ๑๖.๒๕ ช้าไป ๑๐ นาที ผมพลาดรถเมล์อีกแล้ว ผมพยายามสอบถามจุดที่เดินผ่าน เพื่อจะหามอเตอร์ไซด์รับจ้างให้ไปส่ง โดยขับไล่ให้ทันรถเมล์ที่เพิ่งออกไปเมื่อ ๑๐ นาที่ที่แล้ว แต่น่าเสียดายฮอดเป็นอำเภอกันดาร ไม่มีมอไซด์รับจ้างมาเข้าวินรอผู้โดยสาร ผมจึงไปปรึกษาร้านค้าที่อยู่ใกล้กับจุดที่รถเมล์จากอำเภอฮอดไปอมก๋อยและยืน รอเพื่อตัดสินใจ๕

คนไทย น้ำใจไม่เคยแห้ง ภาค ๑

เกริ่นขึ้นต้น ถึงแม้จะเป็นคำเก่า ๆ  แต่ก็สามารถใช้ได้กับคนไทยทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะคนในถิ่นทุรกันดาร ๒ ครั้งใน ๒ สัปดาห์ ที่ผมได้รับความช่วยเหลือจากคนไทย เหตุการณ์ที่ผมได้รับน้ำใจจากคนไทยกำลังจะเล่าต่อไปนี้ เหตุการณ์ที่ ๑ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ หลังจากกิจกรรม “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” เสร็จสิ้นผมจะเดินทางกลับไชยปราการปกติรถออกจากอมก๋อย จะเข้าเชียงใหม่จะออก เวลา ๑๔.๓๐ แต่วันนี้ผมเดินออกจากบ้านไป กะว่าเวลาแค่ ๑๐ นาทีน่าจะเพียงพอสำหรับการรอรถเมล์ ปรากฎว่าเวลา ๑๔.๒๐ ผมออกไปจากบ้านประมาณ ๓๐ เมตร มองเห็นรถเมล์ซึ่งเข้าใจว่าออกมาจากคิวรถก่อนเวลามาจอดรออยู่หน้าโรงพยาบาล อมก๋อยเรียบร้อยแล้ว สายตาผมมองเห็น พนักงานขับรถ เก็บไม้หมอนรองล้อรถออก แล้วก้าวขึ้นไปในรถ และขับออกไปผมพยายามวิ่งและตะโกนให้รถรอ แต่พนักงานขับรถ ไม่ได้ยินเสียงผม รถออกไปโดยที่ผมกิ่งวิ่งกึ่งเดินตามไป เนื่องจากมีเด็กไปด้วย ๑ คนคือน้องเบิ้ลที่ร่วมกิจกรรมเที่ยวทะเลกับเด็กดอยในครั้งนี้ ผมหมดความหวังที่จะทันรถ พลันที่รถเมล์พ้นสายตาไปได้ประมาณ ๒ นาที ก็มีรถกระบะของตำรวจออกมาจากสถานีตำรวจภูธรอมก๋อยสมองสั่งให้ผมยกมือขึ้นโบก ในทันที แต่ปฏิกิริยาที่ได้รับจากคนขับรถ คือโบกมือตอบกลับมาเพื่อปฏิเสธ แต่ทันทีที่รถตำรวจเลยไปประมาณ

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒ (๒๐-๒๕ เมษายน ๒๕๕๓) ถ้านับจากเดือนที่จุดประกาย ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ได้เริ่มเตรียมงานจริงจังก็หลังจากค่ายครูอาสารุ่น ๒ เรียบร้อยแล้ว ในการเตรียมงานครั้งนี้ ก็ได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำหลายอย่าง จากหลาย ๆ ที่หลายคณะ จากผู้ใหญ่ใจดี ที่ระยอง จากคณะครูอาสา ที่อยากให้น้อง ๆ ได้สัมผัสสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดเป็นโปรแกรมทัศนศึกษา “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” หลังจากเตรียมแผนงานตลอดเดือนมีนาคม และต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ใกล้ถึงวันเดินทาง ช่วงสงกรานต์เลยขึ้นไปพักผ่อนสมอง สอนหนังสือเด็กอยู่บนดอยบ้านแม่ฮองกลาง ก่อนวันเดินทางต้องกลับมาที่ไชยปราการ เพื่อรับเด็ก ๆ ชนเผ่ามูเซอ (ลาหู่) จากบ้านแม่ฝางหลวง อำเภอไชยปราการ ไปด้วยตัวเองเนื่องจากครูใหญ่ (ธนานัน) ติดภารกิจด่วน ลูกชายบวชภาคฤดูร้อน และจะลาสิขาบท (สึก) ในตอนสายของวันที่ ๒๐ ทำให้ไม่สะดวกพาน้อง ๆไปจากไชยปราการ วันเดินทางหลังจากเบิกเงินค่ารถเรียบร้อยแล้ว ก็พาเด็ก ๆ ออกเดินทางโดยรถเมล์โดยสารจากไชยปราการ

ความเหมือนที่แตกต่าง

ไม่คิดว่าบนดอยเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ของพื้นที่สูงในเขตโซนเหนือและโซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่กันขนาดนี้ ในไชยปราการ ป่าไม้ยังพอหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็กำลังถูกรุกคืบ เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า ของทั้งคนไทยพื้นเมือง และคนบนดอย หลากหลายชนเผ่า ความเจริญในไชยปราการ ทำให้ผู้คนโดยเฉพาะผู้นำที่พูดได้เสียงดังกว่าคนอื่นในชุมชน จะอาศัยศักยภาพของตนเอง เข้าไปจับจองพื้นที่บนป่า ทำมาหากิน เพื่อให้ได้สิทธิ์ทำกินบนภูเขา ที่อมก๋อย ภูเขาผ่านทางเข้าพื้นที่แต่ละลูก แทบจะไม่เหลือต้นไม้แล้ว เนื่องจากวัฒนธรรมในการทำไร่เวียนทุก ๗ ปี คือไร่หมุนเวียนทำไร่ ๗ แห่ง ๆ ละปี แต่ก็เป็นที่แปลกใจ ขนาดภูเขากลายเป็นเขาหัวโล้น แต่น้ำแม่ฮองยังเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำอุดมสมบูรณ์ ในไชยปราการ จะมีชนเผ่าลาหู่ อาศัยอยู่แถบทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดเชียงราย สภาพชีวิตโดยทั่วไปที่เห็นในไชยปราการ หลังที่ลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ เพื่อมาเป็นครูอาสา ก็คิดว่ามาเจอสภาพของคนดอยที่่สภาพชีวิตโหดร้ายแล้ว ที่อมก๋อย ที่นั้นจะเป็นพื้นที่ของเผ่ากะเหรี่ยง ในบริเวณตัวอำเภอ ส่วนใหญ่รอบ ๆ นั้นก็เป็นพื้นที่พออยู่อาศัยได้ของคนไทยพื้นเมือง แต่ถ้าเข้าไปลึกจากตัวอำเภอประมาณ ๔๐ กิโลเมตรเข้าไป ซึ่งทางเข้ายากลำบาก ไม่ค่อยมีหน่วยงานราชการเข้าไปประจำในพื้นที่ มีแค่ครูของ สพท. และ กศน. ยิ่งเข้าไปลึกยิ่งจะเห็นสภาพของความลำบากยากแค้นขนาด

พี่จะอยู่ถึงหน้าฝนนี้หรือเปล่าครับ ?

 พี่จะอยู่ถึงหน้าฝนนี้หรือเปล่าครับ ? ครูเล้ง ครูผู้ช่วย ในโครงการ ครู กพด. ประจำอยู่ ศศช.บ้านแม่เกิบ ยิงคำถามใส่ผม ขณะที่ผมติดรถจักรยานยนต์ น้องเขาลงมาจากดอย บ้านแม่ฮองกลาง ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลา ๔ ชั่วโมงกว่า ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนทัศนกันหลายอย่าง หย่อมบ้านแม่ฮองกลาง ประกอบด้วย บ้านแม่ฮองกลาง บ้านแม่เกิบ บ้านแม่ฮองใต้ และบ้านห้วยหวาย ๔ หมู่บ้านนี้ อยู่สุดท้าย ริมสุดของอำเภออมก๋อย ติดกับอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยเหตุผลที่ผมเลือกบ้านแม่ฮองกลาง ด้วยเลขที่ตำแหน่งพนักงานราชการ เป็นเลข ๘๔๘ เลขสวยซะด้วย หารู้ไม่ชะตากรรม ไปไกลสุด ๆ ของอมก๋อย ดินแดน คำสาป ใครที่ถูกส่งมาอยู่ เหมือนโดนทำโทษ กันดารสุด ๆ ห่างไกล ถนนดินผุ ๆ พัง ๆ ไปตลอดระยะทางเกือบ ๗๐

พื้นที่เปลี่ยนไป แต่ความตั้งใจเหมือนเดิม

หลังจากประกาศผลการสอบพนักงานราชการ ทำ ให้ผมคิดหลายตลบ อยู่หลายวัน และแล้วผมก็กลับมาคิดถึง เรื่องที่เคยเขียนใน Facebook ชีวิตคือการวิจัย บางครั้งการทำงาน กับผลลัพธ์ที่ออกมา อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่คาดหวัง แต่เราก็ยังต้องลองและค้นหา คำตอบและผลลัพธ์อีกต่อไป ครูอาสาทุกท่าน คงจะได้รับเมล์ ผลของการตัดสินใจในครั้งนี้ไปแล้ว นั้นคือการเลือกที่จะเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน จากชนเผ่าลาหู่ไชยปราการ ไปยังชนเผ่ากะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย ชีวิตมันก็มีอยู่แค่นี้ ไม่แน่นอน พบเพื่อจาก คนผ่านทาง เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีเริ่มต้น มีจุดสิ้นสุด คงเหลือความทรงจำดี ๆ ไว้ตลอดไป โครงการครูอาสาที่เริ่มไว้ ก็คงจะเปลี่ยนเป้าหมายจากบ้านป่าหนา อำเภอไชยปราการ ย้ายพื้นที่ ไปอำเภออมก๋อย แต่ทราบว่า ทางเข้าหมู่บ้านเดินเท้าเป็นวันในหน้าฝน รถเข้าไม่ถึง ไม่รู้จะมีครูอาสาเข้าไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ อยู่หรือเปล่า ไม่คิดว่าจะย้ายพื้นที่ทำงานเร็วขนาดนี้ อยู่ไชยปราการมา 2 ปีกับอีก 6 เดือน แต่ก็นั่นแหละ ชีวิตคือการเดินทาง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ขอบคุณกำลังใจ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.