ธรรมะสัญจร เดลิเวอร์รี่จากกรุงเทพฯ สู่อมก๋อย

เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๕๓ ที่ได้มีโอกาสพาน้อง ๆ ชนเผ่ากะเหรี่ยงและมูเซอ ไปทัศนศึกษาที่กรุงเทพฯ และไปทะเลที่จังหวัดระยอง โดยมีผู้ใหญ่ใจดีหลาย ๆ ท่านให้การสนับสนุนงบประมาณ การไปในครั้งนั้น ได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรม ฝึกสติ เจริญปัญญา ที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพชรเกษม ๕๔ ระหว่างร่วมปฏิบัติธรรมตัวผมเองมีความรู้สึกสงบมาก ซึ่งปกติการจัดกิจกรรมแบบนี้จะมีเรื่องให้กังวล และต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่เข้าไปปฏิบัติที่ยุวพุทธฯในครั้งนี้กลับรู้สึกสงบ จนแปลกใจ พอถึงกิจกรรมช่วงท้ายที่จะได้ ออกจากยุวพุทธฯได้สนทนากับพระมหาสมใจ สุรจิตฺโต (พระอาจารย์แตงโม) ที่เป็นพระอาจารย์วิทยากรในครั้งนั้น พระอาจารย์ก็ได้ปรารภว่าอยากมาช่วยจัดกิจกรรมให้ถึงอมก๋อย อันเป็นสถานที่ของเด็ก ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทางไกล จึงได้ประสานงานกราบนมัสการ ขอคำปรึกษาจากพระอาจารย์เรื่อยมา จึงเป็นที่มาของกิจกรรม “อบรมปฏิบัติธรรมสัญจร เด็กชาวไทยภูเขา” ระหว่าง ๔ – ๗ มกราคม ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะอบรมธรรมะในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี หลาย ๆ ท่านที่ทั้งบริจาคช่วย และระดมทุนมาช่วยจัดกิจกรรมซึ่งเป็นจำนวนเงินมากพอสมควร โดยไม่ได้งบประมาณของทางราชการแม้แต่บาทเดียว โดยมีพระมหาสมใจ 

เตาแกส เตาไฟ เตาอะไรทำไมร้อน

ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ คณะของพี่สุรัตน์จากจังหวัดระยอง ผู้ใหญ่ใจดีที่เคยสนับสนุนและเกื้อกูลตลอดมา ก็ได้มาเยี่ยมที่บ้านแม่ฮองกลาง การมาในครั้งนี้ของคณะพี่สุรัตน์ ได้นำมาซึ่งความอบอุ่นมามอบให้กับชุมชน นั้นคือการมอบผ้าห่มให้กับชาวบ้านแม่ฮองกลาง ๔๕ หลังคาเรือน โดยได้รับกันอย่างทั่วหน้าทุกหลังคาเรือน สำหรับเด็ก ๆ เองก็ได้รับรอยยิ้ม เหมือนเคยเพราะได้รับรองเท้าแตะคนละคู่ เป็นของฝากจากผู้ใหญ่ใจดี คณะคุณสุรัตน์ยังได้ฝากขนม และของฝากจากระยองไว้ ทำให้เด็ก ๆ บ้านแม่ฮองกลางสดชื่นตั้งใจเรียนและขยันขันแข็งในการทำงานตลอดเดือนธันวาคม แต่ที่สร้างความแปลกประหลาดและงุนงง ให้กับเด็ก ๆ และชุมชนอยู่ไม่น้อยคือเตาแกสที่คณะพี่สุรัตน์ได้ซื้อบริจาคไว้ให้ ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ได้รับสนับสนุนในศูนย์การเรียน ที่ว่าสร้างความงุนงง คือเด็ก ๆ และชาวบ้านสงสัยว่ามันติดไฟได้อย่างไร ไฟที่ติดทำไมเป็นสีฟ้า ไฟสีฟ้าทำไมมีความร้อน ผมต้องใช้เวลาอยู่ประมาณ ๒ สัปดาห์ในการสอนเด็กใช้งาน แต่ไม่อยากให้ใช้งานบ่อย เนื่องจากจะทำให้เด็กหลงลืมรากเหง้า และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ให้ใช้เฉพาะเมื่อยามจำเป็นเท่านั้น และเนื่องจากการขนส่งลำบาก กว่าจะเอาขึ้นมาได้ ๗๐ กว่ากิโล แล้วก็เป็นอย่างที่คาดไว้ เมื่อเด็ก ๆ ใช้เตาแกสเป็น บอกให้ต้มน้ำเด็ก ๆ ก็จะใช้เตาแกสตลอด จนต้องออกกฎว่าห้ามใช้เตาแกส ถ้าจะใช้เตาแกสทำอะไรต้องแจ้งครูทุกครั้ง ซึ่งแน่นอน ผมไม่ค่อยอนุญาตให้เด็กใช้เตาแกส เพราะจะเกิดความเคยชิน

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒ (๒๐-๒๕ เมษายน ๒๕๕๓) ถ้านับจากเดือนที่จุดประกาย ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ได้เริ่มเตรียมงานจริงจังก็หลังจากค่ายครูอาสารุ่น ๒ เรียบร้อยแล้ว ในการเตรียมงานครั้งนี้ ก็ได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำหลายอย่าง จากหลาย ๆ ที่หลายคณะ จากผู้ใหญ่ใจดี ที่ระยอง จากคณะครูอาสา ที่อยากให้น้อง ๆ ได้สัมผัสสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดเป็นโปรแกรมทัศนศึกษา “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” หลังจากเตรียมแผนงานตลอดเดือนมีนาคม และต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ใกล้ถึงวันเดินทาง ช่วงสงกรานต์เลยขึ้นไปพักผ่อนสมอง สอนหนังสือเด็กอยู่บนดอยบ้านแม่ฮองกลาง ก่อนวันเดินทางต้องกลับมาที่ไชยปราการ เพื่อรับเด็ก ๆ ชนเผ่ามูเซอ (ลาหู่) จากบ้านแม่ฝางหลวง อำเภอไชยปราการ ไปด้วยตัวเองเนื่องจากครูใหญ่ (ธนานัน) ติดภารกิจด่วน ลูกชายบวชภาคฤดูร้อน และจะลาสิขาบท (สึก) ในตอนสายของวันที่ ๒๐ ทำให้ไม่สะดวกพาน้อง ๆไปจากไชยปราการ วันเดินทางหลังจากเบิกเงินค่ารถเรียบร้อยแล้ว ก็พาเด็ก ๆ ออกเดินทางโดยรถเมล์โดยสารจากไชยปราการ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.