ความเชื่อการเลี้ยงผีไร่ ผีนา

การเลี้ยงผีไร่ผีนา ชุมชนกะเหรี่ยงเชื่อว่า จะทำให้ข้าวในไร่นาอุดมสมบูรณ์ ให้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภค  

วิถีชีวิตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน ของเด็กดอยที่อมก๋อย

httpv://youtu.be/2xtzYEG2LVE น้อง ๆ เด็กโตบางส่วนต้องไปช่วยงานในไร่แล้วเพราะฝนตกลงมา ข้าวขึ้น หญ้าก็เริ่มโตต้องไปตัดหญ้า

การต่อสู้ทางความคิด เพื่อแย่งศิษย์-หลาน

 ครูก้อยหนึ่งในอาสาสมัครที่เคยร่วมกิจกรรม เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่หลายกิจกรรม หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมเมื่อปี 2552 ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม 4Dekdoi และได้ร่วมกิจกรรม Visit Dekdoi 2012 เมื่อวันที่ 25 – 28 มกราคม 55 ที่ผ่านมา และคงได้เห็นสภาพบนดอยที่เปลี่ยนไป จึงได้ถามผมว่า “เป้าหมายคืออะไร” เป็นคำถามที่ผมต้องคิดย้อนกลับไปเมื่อมาเป็นครูอาสาในกลางเดือนมีนาคม 2553 สภาพที่เห็นในตอนนั้น มันไม่มีอะไรเลย มีแต่อาคารเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเดียวเท่านั้น สวนกล้วยที่มีรอบบริเวณถามไปถามมา ก็ไม่ใช่ของศูนย์การเรียน แล้วอะไรที่ควรทำตามเป้าหมายที่ได้รับมอบมา หลาย ๆ กิจกรรมจึงเป็นการทำแบบผสมผสานดังนี้ – กลุ่มเป้าหมายนักเรียนด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร 3 – 15 ปี – ส่งเสริมการรู้หนังสือในกลุ่มผู้ใหญ่-ผู้ใช้แรงงาน – การส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก – การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น – การส่งเสริมภาวโภชนาการในเด็กวัยเรียน – โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน – การลดภาวะการขาดสารไอโอดีนในเด็กพื้นที่สูง – กิจกรรมด้านอนามัยเด็กวัยเรียน การที่เด็กในชุมชนเติบโตขึ้นมาเมื่ออายุได้ 14

ข้าวไร่…วิถีชีวิตคนดอยอมก๋อย

เป็นความงดงามในวิถีชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูง ณ อมก๋อยแห่งนี้ ที่ยังได้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเป็นพี่ เป็นน้อง ความสามัคคีของชุมชน ขึ้นดอยต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ โชคดีที่ชาวบ้านปลูกข้าวยังไม่เสร็จ เลยได้โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมปลูกข้าวกับชาวบ้าน สิ่งที่ไม่คิดว่าจะมี จะได้เห็น กลับพบเห็นได้ที่นี่ ที่อมก๋อย นั่นคือการลงแขกปลูกข้าว วันหนึ่ง ๆ ทั้งหมู่บ้าน จะไปช่วยกันปลูกข้าวของแต่ละบ้าน ซึ่งไร่ใหญ่แค่ไหน ไกล ลำบากแค่ไหน ก็ใช้เวลาเพียง สองถึงสามวัน ก็สามารถปลูกข้าวไร่เสร็จแล้ว ซึ่งวิถีชีวิตการลงแขกแบบนี้แทบจะหาไม่ได้แล้ว ในวัฒนธรรมของคนพื้นราบ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจ้างแรงงานแทน เป็นสุขใจที่อยู่ท่ามกลางความลำบาก แต่มากด้วยน้ำใจ ที่หาได้ยากยิ่งในยุคที่คนทำมาหาเก็บ แต่ที่นี่ คนทำมาหากิน เพื่อปากท้องจริง ๆ

ธรรมชาติ กับความเชื่อของชนเผ่า

เหมือนจะเคยอ่านหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับธรรมะ ที่บอกว่ามนุษย์สมัยก่อน อยู่กับธรรมชาติและความกลัว กลัวนั่น กลัวนี่ เลยต้องมีพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อมาบวงสรวง บูชาธรรมชาติขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้สบายใจจากภัยธรรมชาติ หรือไม่ให้ธรรมชาติลงโทษนั้นเอง เมื่อมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าสอนว่า ไม่ให้เชื่อสิ่งต่าง ๆ จนกว่าจะได้พิจารณาให้ถ่องแท้แล้วตามหลักกาลามะสูตร ๑. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าฟังจากคนอื่นเขาบอกต่อ ๆ กันมา ๒. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าเห็นเขาทำตามๆกันมา ๓. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าผู้คนกำลังเล่าลือกันอยู่ ๔. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามีตำราอ้างอิง ๕. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามีเหตุผลตรงๆมารองรับ(ตรรกะ) ๖. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามีเหตุผลแวดล้อมมารองรับ(ปรัชญา) ๗. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่านึกเดาเอาตามสามัญสำนึกของเราเอง ๘. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามันตรงกับความเห็นเดิมที่เรามีอยู่ ๙. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าผู้พูดผู้สอนนี้อยู่ในฐานะที่น่าเชื่อถือ ๑๐. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าผู้พูดผู้สอนนี้เป็นครูอาจารย์ของเราเอง เมื่อพายุฝนเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม แบบติดกันหลายวัน ในช่วงที่ผ่านมา ในมุมดี ๆ สำหรับสวนเกษตรในศูนย์การเรียนคือไม่ต้องรดน้ำสวนเกษตรบ่อย และคลายความร้อนลงไปได้

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.