เลี้ยงผีไร่….ฆ่าหมู…..กินหนู

ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีโอกาสไปร่วมประเพณีเลี้ยงผีไร่ ของบ้านแม่ฮองกลาง ตามคำชวนของนักเรียนและผู้ปกครอง ก็เลยไปที่ไร่ตามคำชวน มีสัตว์อยู่ ๒ ประเภท ที่เลี้ยงไว้เพื่อทำพิธีกรรมต่าง ๆ คือ ไก่และหมู นอกนั้นเลี้ยงไว้เพื่อกินเนื้อบ้าง ขายบ้างคือ แพะ วัว และควาย หมูจะถูกเลี้ยงไว้เพื่อนำมาใช้ประกอบพิธีหรือประเพณีเลี้ยงผีไร่ ส่วนไก่จะเลี้ยงไว้เพื่อใช้ประกอบพิธีมัดมือ ในการทำบุญเมื่อหายจากเจ็บป่วย การไปที่ไร่ครั้งนี้จึงได้เห็นภาพการ ชำแหละหมู แต่ที่ไม่คาดคิดมาก่อนคือ ได้กินหนูด้วย  ก็เนื่องจากในไร่ข้าวนั้นจะมีหนูมารบกวนไร่ข้าว คอยกัดกินข้าวของชาวบ้าน โดยเฉพาะในฤดูเก็บเกี่ยว ที่จะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ ชาวบ้านในถิ่นนี้ จึงมีภูมิปัญญา ในการดักหนู เพื่อนำมาประกอบอาหาร ภาพที่เห็นคือ…หลังจากพ่อเผาขนหนูเสร็จ ก็จัดการเด็ดหางหนูที่ไหม้ ๆ กึ่งสุก ให้ลูกชายวัย ๔ ขวบไปแทะเล่นทันที ภาพที่เห็นกับตานั้นคงไม่สามารถแพร่ภาพได้ คงสามารถให้ดูได้เฉพาะในการประกอบอาหารเท่านั้น……ครับ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป….ของคนดอยที่ไชยปราการ

เมื่อกลับบ้านพักที่ไชยปราการเดือนกันยายน ๒๕๕๓ ได้พบปะสนทนากับครูผู้ช่วยท่านหนึ่ง ที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเอกชน ให้ช่วยสอนที่บ้านป่าหนา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ผมเคยไปสอน สมัยที่ลาออกจากเป็นคนกรุงเทพฯ มาเป็นครูดอยใหม่ ๆ ระยะเวลาแค่ ๑ ปีชนเผ่าหมู่เซอที่ไชยปราการเปลี่ยนไปมากเหลือเกินครับ ผมไปเป็นครูอาสาเมื่อกลางปี ๕๐ ทั้งหมู่บ้านมีรถยนต์เพียง ๓ คัน พอปี ๕๒ รถยนต์พุ่งพรวดขึ้นเป็น ๘ คัน หากติดตามข่าวสารเป็นระยะจะสังเกตุได้ว่า ๓ อำเภอโซนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ฝาง แม่อาย และไชยปราการ จะมีข่าวจับยาเสพติดบ่อยมาก จึงไม่ต้องสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเผ่ามูเซอ ทั้งนี้รวมไปถึงอำเภอติดชายแดนของจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็น แม่สาย แม่จัน แม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และอำเภอเมืองเชียงราย หลาย ๆ หมู่บ้านที่ กศน.ทำงานเราที่เป็นครู ก็รู้ทั้งรู้ แต่ต้องคิดอยู่เสมอว่า อย่าไปยุ่งกับยาเสพติด และอย่าให้ยาเสพติด มายุ่งกับเรา หลายหมู่บ้านผู้นำหรือญาติผู้นำเหล่านั้นเป็นผู้ที่ถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง แต่ด้วยความที่เป็นผู้นำชุมชน บางคนเป็นถึงผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ช่วย ทำให้หน่วยงานราชการต่างเกรงใจ และในเทศกาลกินข้าวใหม่ในเดือนตุลาคม และเทศกาลกินวอของชนเผ่าลาหู่ จะมีผู้นำจากพื้นราบ กำนัน

วันที่รอคอย….อาหารกลางวัน

หลังจากขึ้นดอยมาได้ ๑ วัน พอถึงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นวันที่นัดกับรถขนอาหารกลางวันที่จะขึ้นมาส่งที่บ้านห้วยบง ห่างจากบ้านแม่ฮองกลางประมาณ ๘ กิโลเมตร ในทุก ๆ ปีที่ผ่านมาทราบว่า รถอาหารกลางวันจะเข้าไม่ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน แต่ปีนี้ฝนตกล่าช้า ทำให้เดือนสิงหาคมเป็นเดือนแรกที่ต้องขอให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ มาช่วยกันเดินมาขนอาหารกลางวัน ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจึงถือว่าโชคดี อาหารกลางวันเข้าไปถึงหมู่บ้าน พอตกเดือนสิงหาคมฝนตกติดต่อกันหลายวันถนนเละ จนรถอาหารกลางวันเข้าไปส่งไม่ได้  จึงได้นัดกันไว้ที่บ้านหวยบง ซึ่งแน่นอนภารกิจในการนัดแนะครั้งนี้ก็ไม่พ้นที่จะขอให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ นักเรียนไปช่วยแบกอาหารกลางวันจากบ้านห้วยบง มาบ้านแม่ฮองกลาง ระยะทาง ๘ กิโลเมตรขึ้นลงภูเขา ชาวบ้านและเด็ก ๆ เดินประมาณ ๑.๓๐ ชั่วโมงก็ถึงแล้ว ไม่ต้องเดาหรอกครับว่าผมจะเดินไปกับเด็กหรือไม่ เพราะผมก็ไปกับเด็กด้วย ๓ คน และขอให้เด็ก ๆ เดินรอผมด้วย เพราะผมเอารถมอเตอร์ไซด์ไป ที่ให้เด็ก ๆ เดินรอไปเรื่อย ๆ ก็เพื่อให้ไปช่วยดึงรถขึ้นภูเขา เท่านั้นเอง 🙂 เมื่อไปถึงบ้านห้วยบงในบ่ายวันที่ ๑๑ สิงหาคม

อุปสรรคเป็นแค่เรื่องผ่านมาแล้วผ่านไป

หลายคนเป็นบอกว่า ปัญหามีไว้แก้บ้าง มีไว้วิ่งชนบ้าง แต่สำหรับผมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แค่เหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป บางเรื่องก็จดจำได้บางเรื่องก็ไม่อยากจำ ก็เท่านั้นเอง ขึ้นดอยเดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ไม่กล้าอาจหาญชาญชัยตะลุยเดี่ยว เพราะประสบการณ์ที่เกิดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์สอนเราอย่างดี พร้อมทั้งเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาก่อน จึงได้รอขึ้นดอยพร้อมกันกับครูอีกหลาย ๆ หมู่บ้านรวมทั้งน้อง ๆ ครู กพด. ที่แน่นอนผมหวังลึก ๆ ว่าหากมีอะไรน้อง ๆ เหล่านั้นที่อยู่ในวัยยี่สิบต้น ย่อมสามารถช่วยผู้อาวุโสอย่างผมได้ รวมทั้งความเป็นชนเผ่าของน้อง ๆ ครู กพด. ทำให้เหมือนเป็นใบเบิกทางในการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย ในกลุ่มแม่ฮองที่เดินทางครั้งนี้มีครูทั้งหมด ๘ คน ๗ ศูนย์การเรียน รถมอเตอร์ไซด์ ๖ คัน เมื่อถึงสามแยกนาเกียน-ใบหนา เราก็ต้องแยกทางกัน กลุ่มผมแยกเข้าไปบ้านใบหนารถ ๔ คัน ๕ คน อีกกลุ่มแยกไปเส้นทางบ้านนาเกียน รถ ๒ คัน ๓ คน หลังจากเดินทางผ่านไปได้ประมาณ

กว่าจะรู้ตัวว่าแก่ ก็เมื่อได้รับคำถามแบบเด็ก ๆ

“ครูครับ ฟ้ามิอาจกั้น แปลว่าอะไรครับ” “ครูค่ะ อย่าปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ หมายถึงอะไรค่ะ” “ครูครับ ชั่วฟ้าดินสลาย แปลว่าอะไรครับ” และอีกหลาย ๆ คำถามที่เป็นภาษาวัยรุ่น ที่เด็กเริ่มได้ยินจากเพลง ได้เห็นจากหนังทีวี แม้ว่าทั้งหมู่บ้านจะมีทีวีเพียง ๒ เครื่อง แต่ก็สามารถทำให้เด็กเกิดความสนใจในภาษา และเข้าใจภาษาได้เร็ว โดยเฉพาะภาษาวัยรุ่น ในหมู่เด็กที่อายุก้าวเข้าสู่วัยรุ่น หลายคำถาม ผมต้องตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะเด็กผู้ชายรู้แล้วก็ไปอำเด็กผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมาถามใหม่ หลายคำถาม ทำเอาผมอึ้งเพราะไม่คิดว่าเด็กบนดอย จะถามซึ่งเป็นคำถามแบบวัยรุ่นในเมือง สื่อทีวี เพลง ค่อนข้างที่จะมีอิทธิพล สำหรับเด็กบนดอยมากพอสมควร เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เข้ามาในหมู่บ้านได้ไม่กี่ปี และทีวีเครื่องที่ ๒ ในหมู่บ้าน ก็เพิ่งจะมีเดือน พฤษภาคม ๕๓ ที่ผ่านมานี้เอง โบราณกล่าวไว้ว่า “ดูหนังดูละคร ให้ย้อนกลับมาดูตัวเอง” ด้วยความขี้เกียจ ที่จะต้องย้อนมาดูตัวเองนั่นแหละ ทำให้ผมไม่ค่อยดูทีวี เพราะเป็นคนที่ไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว ทำให้อยู่บนดอยได้โดยไม่เป็นอุปสรรคมากนัก เพราะไม่รู้จะดูไปทำไม ข่าวสารทุกวันนี้ขายข่าวแต่เรื่องร้าย เรื่องดี ๆ ปุถุชน ผู้คนทั่วไปก็ไม่ค่อยนิยมบริโภคกันเท่าไหร่

มาแบ อมก๋อย เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ

มาแบ อมก๋อย  เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ “มาแบ มาแบ อมก๋อย ลงจากดอย มาแบ นักแก ชูเดชะ อามู อาแพ ชูเดชะ อามู อาแพ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย” แปลความได้ว่า ไม่สนุก ไม่สนุก อมก๋อย ลงจากดอย ไม่สนุก มากเลย (คำว่า นักแก เป็นภาษาเหนือ) คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย เมื่อได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก มันสนุกในทำนองและสำเนียง แต่เมื่อได้ถามคำแปลแล้วทำให้ได้ทราบว่า วิถีชีวิตของเด็กบนดอย ที่เป็นอิสระ และความสุข แบบดอย ๆ เด็กเขาคงจะปรับตัวยากเมื่อลงดอย การได้ใช้ชีวิตในตัวอำเภออมก๋อย ถึงแม้จะมีความพร้อมกว่าในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การศึกษา การสื่อสาร และอาหารการกิน หากแต่เด็กก็คือเด็ก ยังคิดถึงพ่อแม่ คิดถึงบ้านบนดอย

โรงเรียนบ้าน… และ ศศช.บ้าน… ต่างกันอย่างไร

โรงเรียนบ้าน…. สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของโรงเรียน การเดินทางค่อนข้างสะดวกกว่า ในหมู่บ้านนั้นมีเด็กมากกว่า 150 คนที่อยู่ในเกณฑ์ วัยเรียน มีครูที่เป็นข้าราชการ ครูสามารถทำผลงานเพื่อเลื่อน ระดับเงินเดือนได้ มีงบประมาณบริหารของแต่ละโรงเรียนเอง ตามที่ได้รับจัดสรร มีครูหลายคน ช่วยกันสอนและรับผิดชอบแต่ละระดับชั้น สวัสดิการของครู เป็นสวัสดิการของข้าราชการ ศศช.บ้าน…… สังกัด สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของศูนย์การเรียน การเดินทางเข้าพื้นที่ส่วนใหญ่จะลำบาก ในหมู่บ้าน มีเด็กในเกณฑ์วัยเรียนตั้งแต่ 3 ขวบ ถึง 14 ปี อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ครูที่สอนเป็นพนักงานราชการ ประเมินการทำงานเพื่อต่อสัญญาทุก 4 ปี ไม่สามารถทำขั้นทำซีได้ ไม่มีงบประมาณของแต่ละ ศศช. งบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ที่ กศน.อำเภอ แต่ละแห่งมีครู 1-2 คน, ครู 1 คนดูแลหลายระดับชั้น รวมทั้งผู้ใหญ่ และผู้ไม่รู้หนังสือ สวัสดิการของครู ตามระเบียบพนักงานราชการ (ใช้ระบบประกันสังคม) นั่นเป็นเหตุผลที่ ครูดอยบางส่วนมาอยู่เพื่อรอสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัด สพท. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.