มาแบ อมก๋อย เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ

มาแบ อมก๋อย  เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ “มาแบ มาแบ อมก๋อย ลงจากดอย มาแบ นักแก ชูเดชะ อามู อาแพ ชูเดชะ อามู อาแพ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย” แปลความได้ว่า ไม่สนุก ไม่สนุก อมก๋อย ลงจากดอย ไม่สนุก มากเลย (คำว่า นักแก เป็นภาษาเหนือ) คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย เมื่อได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก มันสนุกในทำนองและสำเนียง แต่เมื่อได้ถามคำแปลแล้วทำให้ได้ทราบว่า วิถีชีวิตของเด็กบนดอย ที่เป็นอิสระ และความสุข แบบดอย ๆ เด็กเขาคงจะปรับตัวยากเมื่อลงดอย การได้ใช้ชีวิตในตัวอำเภออมก๋อย ถึงแม้จะมีความพร้อมกว่าในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การศึกษา การสื่อสาร และอาหารการกิน หากแต่เด็กก็คือเด็ก ยังคิดถึงพ่อแม่ คิดถึงบ้านบนดอย

โรงเรียนบ้าน… และ ศศช.บ้าน… ต่างกันอย่างไร

โรงเรียนบ้าน…. สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของโรงเรียน การเดินทางค่อนข้างสะดวกกว่า ในหมู่บ้านนั้นมีเด็กมากกว่า 150 คนที่อยู่ในเกณฑ์ วัยเรียน มีครูที่เป็นข้าราชการ ครูสามารถทำผลงานเพื่อเลื่อน ระดับเงินเดือนได้ มีงบประมาณบริหารของแต่ละโรงเรียนเอง ตามที่ได้รับจัดสรร มีครูหลายคน ช่วยกันสอนและรับผิดชอบแต่ละระดับชั้น สวัสดิการของครู เป็นสวัสดิการของข้าราชการ ศศช.บ้าน…… สังกัด สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของศูนย์การเรียน การเดินทางเข้าพื้นที่ส่วนใหญ่จะลำบาก ในหมู่บ้าน มีเด็กในเกณฑ์วัยเรียนตั้งแต่ 3 ขวบ ถึง 14 ปี อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ครูที่สอนเป็นพนักงานราชการ ประเมินการทำงานเพื่อต่อสัญญาทุก 4 ปี ไม่สามารถทำขั้นทำซีได้ ไม่มีงบประมาณของแต่ละ ศศช. งบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ที่ กศน.อำเภอ แต่ละแห่งมีครู 1-2 คน, ครู 1 คนดูแลหลายระดับชั้น รวมทั้งผู้ใหญ่ และผู้ไม่รู้หนังสือ สวัสดิการของครู ตามระเบียบพนักงานราชการ (ใช้ระบบประกันสังคม) นั่นเป็นเหตุผลที่ ครูดอยบางส่วนมาอยู่เพื่อรอสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัด สพท. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การเดินทางในเส้นทางอันหฤโหด ได้เริ่มขึ้นแล้ว

ที่ผ่านมาเป็นแค่ บททดสอบ ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนคือตั้งแต่ มีนาคม-มิถุนายน เป็นบททดสอบทั้งกายและใจ พอย่างเข้าเดือนกรกฎาคม หนทางอันหฤโหด ที่เป็นเรื่องเล่าขาน ต่อกันมานานหลายปีได้เริ่มขึ้นในการเดินทางของผมแล้ว เดือนนี้จำเป็นต้องลงมาจากดอยก่อนกำหนดเดิม ๒ วัน เพราะต้องมาร่วมงานเปิด กศน.ตำบลนาเกียน การเดินทางครั้งนี้เริ่มจากครูกำจัด ที่เป็นครูนิเทศก์กลุ่มแม่ฮองได้ มานิเทศก์ บ้านมะหินหลวง ทีเนอะ ทีลอง ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ต่อมายังบ้านแม่เกิบ แม่ฮองกลาง แม่ฮองใต้ และบ้านห้วยหวาย เป็นบ้านสุดท้าย คณะครูตามรายทางจึงได้เดินทางพร้อมกับครูใหญ่ คำเรียกครูใหญ่ เป็นการให้เกียรติครูนิเทศก์ เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์มายาวนานในการทำงานบนพื้นที่สูง ที่พร้อมจะให้คำแนะนำน้อง ๆ ครูรุ่นใหม่ที่เข้าไปแทนที่คนเก่า ครูใหญ่และพวกเรา ได้ประชุมหารือการเดินทางออกจากพื้นที่ได้ข้อสรุปว่า จะพาคณะครูจาก ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ไปสำรวจเส้นทางกลุ่มผีปาน โดนเส้นทางกลุ่มผีปานนี้ผมใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกประจำ แต่ครูจากศาลาเท และแม่ละเอ๊าะจะใช้เส้นทางบ้านนาเกียนแทน ครูทั้งหมด ๗ คนจาก ๕ ศูนย์การเรียน ของการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางท่ามกลางฤดูมรสุม ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ความลำบาก และการช่วยเหลือ

ครูผู้ช่วยที่ต้องรับผิดชอบ มากกว่าผู้ช่วยครู

แทบจะไม่เคยเขียนเรื่องถึงครูผู้ช่วยของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลางเลย ครูชิ หรือนายนำโชค นิมิตคีรีมาศ เป็นครูในโครงการ ครู กพด. (การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร) ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ครูชิ จบม.๓ จากโรงเรียนบ้านนาเกียน แล้วมาต่อ ม.๖ ที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม ความโชคดีที่ได้เรียนต่อคือบ้านนาเกียนเป็นพื้นที่ที่มีโครงการพระราชดำริ เกี่ยวกับเกษตรพื้นที่สูง และอีกความโชคดีคือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งองค์กรทางศาสนา ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองนับคือคริสต์ได้เรียนในระดับที่สูง ๆ ขึ้น ที่อำเภอไชยปราการ ชนเผ่ามูเซอเหลืองบ้านดอยเวียง จะได้รับการศึกษาดีมาก โดยเด็กเมื่ออายุ ๑๐ ปีขึ้นไปจะถูกส่งไปอยู่บ้านพักหอพักศาสนาคริสต์ในอำเภอพร้าว และได้รับการศึกษาต่อที่อำเภอพร้าว พื้นที่อมก๋อย ก็มีองค์กรทางศาสนาเข้ามาบ้างเหมือนกันในจุดที่การคมนาคมสะดวก ใกล้กับบ้านพักผมที่อมก๋อยยังมีบ้านพักศาสนาบาไฮ ซึ่งเป็นทางเลือกให้สำหรับเด็กบ้านไกล ที่จะได้รับการศึกษาโดยมีองค์กรทางศาสนายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ปัจจุบัน ครูชิ เป็นครูผู้ช่วย โดยได้ทุนจากโครงการพระราชดำริ มาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีทางครุศาสตร์ ซึ่งทุกเดือนระหว่างวันที่ ๓๐ ของเดือน ถึงวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป จะต้องลงมาเรียนที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาราชภัฎเชียงใหม่ เข้ามาสอนให้ถึงที่ ณ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม กศน.อำเภออมก๋อย มีครูผู้ช่วยในโครงการครู

ถึงคราวคับขัน ก็ไม่ถึงกับสิ้นหนทาง สวรรค์ยังเมตตา

ขึ้นดอยโดยปกติผมจะไปถึงสามแยกผีปาน-บ้านนาเกียน ผมจะต้องไปสายผีปาน ไปที่บ้าน ใบหนา แยกผีปานเหนือ เข้าห้วยบง และมาแม่ฮอง ครั้งไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม คราวนี้เปลี่ยนเส้นทางไปเส้นทางที่ไม่เคยไปคือไปบ้าน นาเกียน ทีลอง ศาลาที แม่เกิบ และแม่ฮอง ตามคำชวนของเพื่อนครู และต้องไปดูเส้นทางว่าลำบากกว่าเส้นทางที่ผมใช้ประจำหรือไม่ ก็รู้สึกได้ว่า ถนนจะดีกว่าเส้นที่ผมใช้ประจำ เมื่อไปถึงบ้านแม่เกิบ ทางชันเกือบขึ้นไม่ได้ ต้องเข็ญรถขึ้น พร้อมแบกกระเป๋ามีหนังสือ และวิตามีนซีไปฝากเด็ก ๆ และลำอ้อยไปปลูกบนดอย ผ่านทางขึ้นเนินบ้านแม่เกิบไปได้ด้วยความทุลักทุเล แต่ปรากฎว่ารถไปล้มเอาตอนจะขึ้น ศศช.บ้านแม่เกิบเพื่อจะเข้าไปแวะพักเหนื่อย บาดแผลถลอกนิดเดียว ขนาดวงเหรียญ ๕ หรือเหรียญ ๑๐ ผมคิดว่าไม่เป็นไร สัก ๗-๑๐ วันก็น่าจะหายไปเอง ผมคิดผิดไปถนัด ๗ วันก็แล้ว ๑๐ วันก็แล้ว ซ้ำอาการหนักกว่าเก่า โดยมีเลือดไหลออกมาพร้อมกับหนอง เจ็บจนนอนไม่หลับ ปกติเดือนก่อน ๆ ผมก็เตรียมยาแก้อักเสบขึ้นไป แต่ชาวบ้านไม่สบาย เลยให้ไปหมดเลย ๒ แผง เลยไม่มียาแก้อักเสบกิน ด้วยความที่ซื้อแพงเหลือเกิน อมก๋อยแผงละ

กระดูกไก่ที่กินเนื้อหมดแล้ว ยังมีประโยชน์

เช้าวันหนึ่ง ได้รับอาหารเช้าเป็นต้มไก่ แบบบนดอยแน่นอนในนั้นจะต้องมี ๓ สิ่งที่เป็นของสำคัญ ที่แม้แต่คนในบ้านก็ไม่ได้กิน ๑. หัวไก่ติดคอไก่มาด้วย ๒. ขาไก่ทั้งสองข้าง และ ๓ ปีกไก่ทั้งสองข้าง มองอย่างคนเมือง คนภายนอก แน่นอนเราต้องชอบกินเนื้อไก่ มากกว่าส่วนอื่น เป็นอย่างแท้แน่นอน วันนี้เป็นวันที่ผมสามารถเลือกได้ว่าจะกินหรือไม่กิน เพราะเขาเอามาส่งให้ถึงโรงเรียน ไม่ได้รับเชิญไปกินที่บ้าน ที่จะต้องกินทุกอย่างที่พ่อบ้านนำมาให้ เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าของบ้าน วันนี้ผมก็เลยไม่กินไก่ทั้งสามส่วนที่ได้รับมา คือ หัว ขา และปีก ตั้งใจจะเก็บไว้ให้เด็ก ๆ ที่มาช่วยงานที่โรงเรียนได้กินบ้าง เพราะรู้ว่าเด็ก ๆ ไม่ค่อยได้กินอาหารดี ๆ แน่ ๆ ถ้าเป็นกับข้าวที่บ้าน แต่ผิดคาดครับ เด็ก ๆ ที่ผมให้กินไม่มีใครกล้ากินสักคน โดยคำตอบที่ได้คือ “เด็กกินไม่ได้” ผมเข้าใจว่าคงโดนปลูกฝังสั่งสอนมา คงจะเป็นเหมือนผมที่สมัยเด็ก ๆ จะโดนปลูกฝังว่าเด็ก ๆ กินตับและใตไก่ไม่ดี หารู้ไม่ตับและไต อร่อยเป็นที่สุดเมื่อได้กินตอนเด็ก ความปรารถนาดีของต้องผมหมดหวัง เพราะไม่มีเด็กคนไหนกล้ากิน อาหารชั้นดีที่ผมหยิบยื่นให้

อภัยให้ครูด้วย หากปลาที่เด็ก ๆ เลี้ยงไว้จะไปมีชีวิตใหม่

ก่อนลงดอย ๑ คืน ฝนตกตั้งแต่ช่วงหัวค่ำของคืนวันที่ ๒๒ มิถุนายน ทำให้คืนนี้ที่ศูนย์การเรียนค่อนข้างจะเงียบเหงาเร็วกว่าปกติ ซึ่งปกติ จะมีเด็ก ๆ มีอยู่มาคุย เพื่อรอเวลาไปดูทีวี บรรยากาศดีเหลือเกิน เมื่อเสียงเม็ดฝนตกกระทบหลังคาสังกะสีศูนย์การเรียน ผมเอา Notebook ที่ติดขึ้นไปบนดอย ตัดสินใจนำ “ชีวิตร่ำไห้ ที่ไม่มีใครได้ยิน” มาเปิดให้เด็กที่อยู่เป็นเพื่อน ๓ คน ได้แก่ อาทิตย์ บือพะ และยงยุทธ ได้ดูในคืนนั้น วีดีทัศน์ชุดนั้น ลุงยุทธ นักพัฒนาสังคม ผู้ที่พยายามชักชวนผมให้เว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ได้มอบให้ไว้นานแล้ว เพิ่งจะได้มีโอกาสดูจนจบเรื่อง ก็วันนี้เอง “ตนเป็นที่รักแห่งตน เรารักตัวเองฉันใด สัตว์อื่นก็รักตัวเองฉันนั้น” เป็นคำบรรยายแรก ในวีดีทัศน์ชุดนั้น พร้อมกับภาพของสัตว์ต่าง ๆ ที่ถูกฆ่าเพื่อมาเป็นอาหารมนุษย์ ในฉากถัดมา วีดีทัศน์ชุดนั้นใช้ มีภาพค่อนข้างที่จะโหดร้ายสะเทือนใจ เช่นภาพปลาโดนสับหัวเป็น ๆ  ภาพกบถูกลอกหนังแล้วยังดิ้นรนต่อ ภาพปาดคอเปิดเพื่อเอาเลือด แล้วยังดิ้นไปอีกสักพักกว่าจะตาย “พวกเรายังไม่อยากตาย พวกเราไม่ใช่อาหารของท่าน ใครคงหลอกท่านไว้แน่เลย ว่าพวกเราเป็นอาหารของท่าน”

คนไทย น้ำใจไม่เคยแห้ง ภาค ๒

หลังจากเหตุการณ์ครั้งที่ ๑ ห่างกันประมาณ ๒ สัปดาห์ ก็มีเหตุการณ์เกิดกับผมในลักษณะคล้าย ๆ กัน คือเหมือนจะได้รับการปฏิเสธในตอนแรก แต่ก็ได้รับการตอบรับในเวลาต่อมา เหตุการณ์ที่ ๒ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ผมกลับจากอบรมครูในโครงการ กพด. ของสำนักงาน กศน.ภาคเหนือ ที่จังหวัดลำปางได้โดยสารรถยนส่วนตัวของครูอาสาด้วยกัน กลับมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๑๔. ๔๐ แน่นอนผมไม่ทันรถเมล์ที่จะวิ่งเข้าอำเภออมก๋อย ที่ออกไปแล้วเมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. เนื่องจากรถเมล์เข้าอมก๋อยจากเชียงใหม่มีวันละ ๒ คันคือ ๐๘.๐๐ กับ ๑๔.๐๐) แต่ผมคาดว่ารถคันที่ผมขึ้นนั้นจะมาทัน หรือเกือบทันรถเมล์โดยสารคันที่วิ่งเข้าอำเภออมก๋อยที่กะไว้ประมาณว่าที่ อำเภอฮอด เพราะปกติรถจะออกจากอำเภอฮอดเพื่อเข้าอมก๋อยในเวลา ๑๖.๑๕ ผมมาถึงอำเภอฮอดเวลา ๑๖.๒๕ ช้าไป ๑๐ นาที ผมพลาดรถเมล์อีกแล้ว ผมพยายามสอบถามจุดที่เดินผ่าน เพื่อจะหามอเตอร์ไซด์รับจ้างให้ไปส่ง โดยขับไล่ให้ทันรถเมล์ที่เพิ่งออกไปเมื่อ ๑๐ นาที่ที่แล้ว แต่น่าเสียดายฮอดเป็นอำเภอกันดาร ไม่มีมอไซด์รับจ้างมาเข้าวินรอผู้โดยสาร ผมจึงไปปรึกษาร้านค้าที่อยู่ใกล้กับจุดที่รถเมล์จากอำเภอฮอดไปอมก๋อยและยืน รอเพื่อตัดสินใจ๕

คนไทย น้ำใจไม่เคยแห้ง ภาค ๑

เกริ่นขึ้นต้น ถึงแม้จะเป็นคำเก่า ๆ  แต่ก็สามารถใช้ได้กับคนไทยทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะคนในถิ่นทุรกันดาร ๒ ครั้งใน ๒ สัปดาห์ ที่ผมได้รับความช่วยเหลือจากคนไทย เหตุการณ์ที่ผมได้รับน้ำใจจากคนไทยกำลังจะเล่าต่อไปนี้ เหตุการณ์ที่ ๑ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ หลังจากกิจกรรม “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” เสร็จสิ้นผมจะเดินทางกลับไชยปราการปกติรถออกจากอมก๋อย จะเข้าเชียงใหม่จะออก เวลา ๑๔.๓๐ แต่วันนี้ผมเดินออกจากบ้านไป กะว่าเวลาแค่ ๑๐ นาทีน่าจะเพียงพอสำหรับการรอรถเมล์ ปรากฎว่าเวลา ๑๔.๒๐ ผมออกไปจากบ้านประมาณ ๓๐ เมตร มองเห็นรถเมล์ซึ่งเข้าใจว่าออกมาจากคิวรถก่อนเวลามาจอดรออยู่หน้าโรงพยาบาล อมก๋อยเรียบร้อยแล้ว สายตาผมมองเห็น พนักงานขับรถ เก็บไม้หมอนรองล้อรถออก แล้วก้าวขึ้นไปในรถ และขับออกไปผมพยายามวิ่งและตะโกนให้รถรอ แต่พนักงานขับรถ ไม่ได้ยินเสียงผม รถออกไปโดยที่ผมกิ่งวิ่งกึ่งเดินตามไป เนื่องจากมีเด็กไปด้วย ๑ คนคือน้องเบิ้ลที่ร่วมกิจกรรมเที่ยวทะเลกับเด็กดอยในครั้งนี้ ผมหมดความหวังที่จะทันรถ พลันที่รถเมล์พ้นสายตาไปได้ประมาณ ๒ นาที ก็มีรถกระบะของตำรวจออกมาจากสถานีตำรวจภูธรอมก๋อยสมองสั่งให้ผมยกมือขึ้นโบก ในทันที แต่ปฏิกิริยาที่ได้รับจากคนขับรถ คือโบกมือตอบกลับมาเพื่อปฏิเสธ แต่ทันทีที่รถตำรวจเลยไปประมาณ

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒ (๒๐-๒๕ เมษายน ๒๕๕๓) ถ้านับจากเดือนที่จุดประกาย ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ได้เริ่มเตรียมงานจริงจังก็หลังจากค่ายครูอาสารุ่น ๒ เรียบร้อยแล้ว ในการเตรียมงานครั้งนี้ ก็ได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำหลายอย่าง จากหลาย ๆ ที่หลายคณะ จากผู้ใหญ่ใจดี ที่ระยอง จากคณะครูอาสา ที่อยากให้น้อง ๆ ได้สัมผัสสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดเป็นโปรแกรมทัศนศึกษา “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” หลังจากเตรียมแผนงานตลอดเดือนมีนาคม และต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ใกล้ถึงวันเดินทาง ช่วงสงกรานต์เลยขึ้นไปพักผ่อนสมอง สอนหนังสือเด็กอยู่บนดอยบ้านแม่ฮองกลาง ก่อนวันเดินทางต้องกลับมาที่ไชยปราการ เพื่อรับเด็ก ๆ ชนเผ่ามูเซอ (ลาหู่) จากบ้านแม่ฝางหลวง อำเภอไชยปราการ ไปด้วยตัวเองเนื่องจากครูใหญ่ (ธนานัน) ติดภารกิจด่วน ลูกชายบวชภาคฤดูร้อน และจะลาสิขาบท (สึก) ในตอนสายของวันที่ ๒๐ ทำให้ไม่สะดวกพาน้อง ๆไปจากไชยปราการ วันเดินทางหลังจากเบิกเงินค่ารถเรียบร้อยแล้ว ก็พาเด็ก ๆ ออกเดินทางโดยรถเมล์โดยสารจากไชยปราการ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.