ทำผิดประเพณี เพราะไปช่วยตีข้าว

ขึ้นดอยไปเดือนพฤศจิกายนนี้ เด็กโตส่วนใหญ่ไปช่วยงานตีข้าวในไร่จึงทำให้ขาดเรียนไปหลายคน สาย ๆ ของวันหนึ่งหลังจากที่สอนไปได้สักพัก และให้งานเด็ก ๆ ทำในศูนย์การเรียนฯ ผมจึงได้เดินทางไปไร่ข้าวเพื่อไปดูเด็ก ๆ ตีข้าวช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง เมื่อไปถึงไร่ข้าวหลังจากที่ถามไถ่ เรื่องการเกี่ยวข้าว ตีข้าว และผลผลิตของปีนี้แล้ว ผมก็สวมวิญญาณลูกชาวนาอิสานบ้านเกิด ที่มันฝังอยู่ในสำนึก เดินเข้าไปช่วยตีข้าวในทันที ไปเยี่ยมดูเด็ก ๆ ที่กำลังตีข้าวช่วยพ่อแม่อยู่ ๔ ที่ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน ผมเข้าไปช่วยเด็กและผู้ปกครองตีข้าวไป ๒ ที่ ในการเข้าไปในไร่ข้าว เขาจะเดินผ่านสถานที่ตีข้าวไม่ได้ น้องยงยุทธเด็กที่ไปด้วย จะคอยเดือนตลอดว่าไม่ให้เดินผ่ากลางสถานที่ตีข้าว ให้เดินอ้อมไป เวลาจะกลับก็ให้กลับทางเดิม ซึ่งเป็นประเพณีความเชื่อของชุมชน แต่ที่ผมทำผิดไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการเตือนก่อนคือการเข้าไปช่วยตีข้าว ๒ ที่ ที่ไปดูเด็ก ๆ ช่วยผู้ปกครองตีข้าว ที่บอกว่าทำผิดเพราะชุมชนกะเหรี่ยงที่นั่นมีความเชื่อว่า ถ้าตีข้าวจะต้องไปตีตลอดจนกว่าจะเสร็จ ไม่เช่นนั้นแล้วจะได้ข้าวในปริมาณน้อยลง ผมก็พยายามชี้แจงกับเด็ก ๆ ว่าข้าวที่เกี่ยวมาแล้วกองอยู่ที่เดียวกัน มันจะลดลงได้อย่างไร เกี่ยวมาเท่าไหร่ ก็ได้เท่านั้น มันจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงไม่ได้ เป็นความเชื่อประเพณีของชุมชนจริงเพราะหลังจากนั้น ผมได้รับคำแซวจากผู้ใหญ่ในชุมชนว่า

ทากกัดที่อมก๋อย .. แบบไม่รู้ตัว

ประสบการณ์สมัยเป็นเด็ก ของเด็กบ้านนอกเคยโดนปลิงกัด ปลิงเป็นสัตว์น้ำ ไร้กระดูกสันหลัง ที่คอยดูดเลือกจากวัวควาย ที่ลงไปกินน้ำ เล่นน้ำ ซึ่งสมัยเป็นเด็ก อยู่บ้านนอกเห็นเป็นประจำ ทำให้ผมไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่ กับการถูกปลิงกัด เพราะกัดไม่เจ็บ พอเอาตัวปลิงออกจากขา ๕-๑๐ นาทีเลือดก็หยุดไหล ทาก เป็นสัตว์คล้ายปลิง ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่มันอาศัยอยู่บนบก ที่ชุ่มชื่น แฉะ ทากเป็นสัตว์ที่ร้ายกาจ เข้ามากัดโดยไม่รู้ตัว และไม่เจ็บ เมื่อทากกัดทากจะปล่อยสารเคมีในตัวชนิดหนึ่ง ออกมาใส่บาดแผลที่มันกัด ทำให้เลือดไหลไม่หยุด กว่าเลือกจะหยุดไหลอาจจะต้องใช้เวลา ๔ – ๘ ชั่วโมง ผม ถูกทากกัดเมื่อหลายปีก่อนโน้น สมัยยังเป็นวัยรุ่น ไปเที่ยวภูกระดึง นั่นทำให้ผมได้รู้จักกับเจ้าสัตว์ไร้กระดูกสันหลัง หรือที่ผมจะเรียกมันว่า “ปลิงบก” เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้เดินเท้าไปบ้านห้วยหวายเป็นระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นทาก ที่อำเภออมก๋อย ไปอยู่ไชยปราการ ๒ ปีกว่า ไมเคยเห็นทากสักตัว การเดินทางไปครั้งนี้จึงเป็นการไปอย่างระมัดระวัง “ทาก” อย่างเป็นที่สุด ครู ๒

คำถามนั้นไม่เคยลืม เมื่อมาเป็นครูอาสา

อย่างที่เคยเล่าไว้ว่า เหตุผมที่ผมเลือกมาเป็นครูอาสา บ้านแม่ฮองกลาง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อยมีเหตุผลง่าย ๆ ๑. ได้ปรึกษาพี่แอ๊ะโรงเรียนของหนูว่า “สอบเป็นครูอาสาได้” พี่แอ๊ะใจดีแนะนำให้ลงพื้นที่ตำบลนาเกียนหรือสบโขง ที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ ๒. ไม่รู้จะเลือกลงพื้นที่อย่างไร หมู่บ้านนี้ไม่เคยรู้จักมาก่อน แม้แต่อำเภออมก๋อยก็ยังไม่เคยมา เลยเลือกเพราะเลขตำแหน่ง ๘๔๘ เลขสวยดี หลังจากสอบติด ก็ได้รับกำลังใจจากครูอาสาที่เคยร่วมกิจกรรมด้วยกัน โดยมีอยู่ ๓ คนที่เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจให้ผมมาอมก๋อย ๑. พี่สุรัตน์ผู้อยู่เบื้องหลังหลาย ๆ กิจกรรม บอกว่า “คนต้นทุนต่ำ ไม่มีอะไรจะเสีย ทำอะไรดี ๆ ย่อมดีมากกว่าเสีย” ๒. ครูพี่จิ๋วอาสารุ่น ๑ บอกว่า “พร้อมที่จะเป็นกำลังใจและช่วยเหลือสนับสนุน ในกิจกรรมเพื่อเด็กดอยเสมอ” ๓. อีเมวจากครูโอเล่อาสารุ่น ๑, ๒ ว่า “แบ้งค์พัน ถึงจะอยู่ที่ไหน ค่าก็อยู่ที่ตัวของมัน แม้อยู่ในถังขยะ ค่าก็ไม่ได้ลดลงไป” เมื่อตัดสินใจมาเป็นครูอาสา ทำให้ผมนอนไม่หลับอยู่หลายคืน เพราะกังวลกับพื้นที่ใหม่ ก่อนเดินทางมารายงานตัว ๒ วันก็ได้รับคำแนะนำดี

ครูอาสา ครูไทย ครูเถื่อนเพราะ…วุฒิครู

ประชุมเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ได้รับทราบข้อมูลจากอาจารย์สุรเดชฯ ผู้ประสานงานโครงการพระราชดำริในสมเด็จพระเทพฯ เรื่องคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่จำนวนครูมากมาย ครูชำนาญการพิเศษกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน ครูชำนาญการกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ แต่คุณภาพของเด็กกลับยิ่งแย่ลง เด็กทั่วประเทศสอบ NT ไม่ผ่านเกณฑ์ ก่อนหน้านั้นก็เคยได้ทราบข่าวเด็ก ป.๓ อ่านหนังสือไม่ได้ตามเกณฑ์ เคยทราบว่า ปัญหาที่มาทั้งหลายเกิดจากการที่ระบบราชการครู ที่ต้องให้ครูทำผลงานวิชาการ เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้ได้ค่านั่น ค่านี่ เข้ามาในเงินเดือน ทำให้ครูทั้งหลายลืมบทบาท และหน้าที่ความเป็นครูของตนเองไป ครูอาสาฯ หรือครูดอยที่สังกัด กศน.ไม่ได้เป็นข้าราชการ เป็นเพียงพนักงานของรัฐ ต่างก็พยายามที่จะสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู เพราะสวัสดิการต่าง ๆ ดีกว่า ครูดอยที่มีใบประกอบวิชาชีพครูส่วนใหญ่ จึงทำงานสอนเพื่อรอสอบบรรจุ เป็นข้าราชการครูสังกัด สพฐ, สพท. มีครูอาสาบางส่วน และรวมทั้งตัวผมเองด้วยที่ต้องกลายเป็นครูเถื่อน เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู ที่จริงแล้วคำว่าครูยิ่งใหญ่มาก ผมเป็นอีกคนที่ไม่ได้จบสายครู และไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่เป็นครูเพราะใจรัก เพราะเคยฝันว่าอยากจะเป็น ผมละอายใจเวลาที่ใครต่อใครเรียกว่าผมครู เพราะมันเป็นคำที่มีความหมายและการรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ผมยังไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเรียกว่าครูได้ ไม่อยากรับคำนั้นด้วยซ้ำ แต่ด้วยสถานนะการทำงาน จึงต้องสวมหน้ากาก ใส่หัวโขน

มีหมอ….หมอไม่มี

ช่วงเวลา ๒ เดือนที่ผ่านมาได้ยินแต่ข่าว พรบ.คุ้มครองคนไข้เป็นข่าวตลอด คาราคาซังไม่มีข้อยุติซักที และเมื่อลงดอยมาไปนั่งกินข้าวร้านตามสั่งที่ถูกปาก….ที่สุดในอมก๋อย ก็ได้เห็นข่าวทางทีวีมีคนตาย จากเหตุการณ์ที่ไปพึ่งบริการทางการพยาบาลของโรงพยาบาล แล้ว เกิดอุบัติเหตุหรืออะไรก็สุดจะแล้วแต่ ทำให้ต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้น ฝ่ายผู้สูญเสียก็ไม่พอใจบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ที่ไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการสูญเสียเกิดขึ้น ฝ่ายแพทย์ก็ต้องเห็นใจโดยเฉพาะแพทย์ในโรงพยาบาลเล็ก ๆ ตามต่างจังหวัดต้องแบกรับภาระต่อจำนวนคนไข้ในอัตราที่สูงมาก ทั้งยังมีระบบต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่เกิดขึ้น ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้ไม่ว่ากับใคร คนที่ไม่เคยผิดพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไร…(โหยคำคมเลยนะเนี่ย) เป็นความโชคดีแล้วครับที่มีหมอ ยิ่งปัจจุบันสถานีอนามัยหลาย ๆ แห่งได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีเจ้าหน้าที่ ๒๔ ชั่วโมง ถึงแม้จะไม่มีแพทย์มาประจำ แต่อย่างน้อยก็มีพยาบาลมาประจำ พอให้อุ่นใจขึ้นมาได้บ้าง ถ้าย้อนเวลากลับไป…สมัยผมเป็นเด็กบ้านนอกผมเคยเห็นการทำคลอด สมัยนั้นไม่มีการฝากครรภ์ จะมาโรงพยาบาลทั้งทีก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับชุมชนต่างจังหวัด ทำคลอดกันโดยหมอตำแยตามมีตามเกิด แม้แต่ผมเองก็ไม่ได้เกิดในโรงพยาบาล เกิดกับหมอตำแยภูมิปัญญาชาวบ้านนั่นแหละ…นั่นเป็นเหตุการณ์ในอดีตที่บ้านนอกต่างจังหวัด ไม่มีหมอ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ปัจจุบันหมู่บ้านที่อยู่ลึก ๆ ห่างไกลของอำเภออมก๋อย ยังทำคลอดกันเอง ผมเชื่อว่าไม่เฉพาะที่อมก๋อยเท่านั้น ยังมี แม่แจ่ม ของเชียงใหม่ สบเมย แม่ฮ่องสอน และท่าสองยาง จังหวัดตาก ถึงแม้จะอยู่ในเขตบริการของสถานีอนามัย และโรงพยาบาลประจำอำเภอ

ตุ๊กแก ชีวิตมีค่าเพื่อรักษาโรคของมนุษย์

ลงดอยมาเมื่อเดือนสิงหาคม ได้พบกับครูจะแนะ (ธนพงษ์) บ้านห้วยหวาย ได้แจ้งผมว่าผ่านขึ้นไป ศศช.ห้วยหวาย ทางอำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เห็นจุดรับซื้อตุ๊กแก โดยจะซื้อตามขนาดและน้ำหนักตัว ถ้าน้ำหนัก ๒ ขีด ตัวละ ๓๐๐ บาท ถ้าน้ำหนัก ๓ ขีดตัวละ ๕๐๐ บาท ถ้าใหญ่กว่านั้นจะราคาแพงขึ้นไปอีก (แล้วมันจะเหลือให้จับเหรอ) พอไปไชยปราการ ระหว่างที่ไปพัก ก็ได้ยินได้ฟัง แพงกว่าจุดรับซื้อที่อำเภอสบเมยอีก น้ำหนักตัว ๒ ขีดตัวละ ๕๐๐ ถ้าเกิน ๓ ขีด ตัวละเป็น ๑,๐๐๐ เลย โหราคาดีจังเลย แล้วบ้านพักที่ไชยปราการ ก็มีตุ๊กแกคอยเฝ้าบ้านให้ด้วย ไม่รู้ว่าเดือนหน้ากลับไป จะได้พบกับสัตว์เฝ้าบ้านหรือเปล่าก็ไม่รู้ คำรำลือนี้ ได้รับการยืนยันอีกครั้งจากคนที่อำเภอสันทราย บอกว่าขายกันตัวละ ๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ กันทั้งนั้น ก็อำเภอสันทรายมันเป็นรอบนอกของเมืองเชียงใหม่จะไปหาตุ๊กแกมาจากไหน ได้ทราบต่อมาว่า ที่รับซื้อไปเป็นออเดอร์มาจากประเทศจีนและเกาหลี ทำให้สัตว์ชนิดนี้ต้องสังเวยชีวิตเพื่อรักษาชีวิตมนุษย์ จากโรคร้ายต่าง

อุปสรรคเป็นแค่เรื่องผ่านมาแล้วผ่านไป

หลายคนเป็นบอกว่า ปัญหามีไว้แก้บ้าง มีไว้วิ่งชนบ้าง แต่สำหรับผมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แค่เหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป บางเรื่องก็จดจำได้บางเรื่องก็ไม่อยากจำ ก็เท่านั้นเอง ขึ้นดอยเดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ไม่กล้าอาจหาญชาญชัยตะลุยเดี่ยว เพราะประสบการณ์ที่เกิดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์สอนเราอย่างดี พร้อมทั้งเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาก่อน จึงได้รอขึ้นดอยพร้อมกันกับครูอีกหลาย ๆ หมู่บ้านรวมทั้งน้อง ๆ ครู กพด. ที่แน่นอนผมหวังลึก ๆ ว่าหากมีอะไรน้อง ๆ เหล่านั้นที่อยู่ในวัยยี่สิบต้น ย่อมสามารถช่วยผู้อาวุโสอย่างผมได้ รวมทั้งความเป็นชนเผ่าของน้อง ๆ ครู กพด. ทำให้เหมือนเป็นใบเบิกทางในการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย ในกลุ่มแม่ฮองที่เดินทางครั้งนี้มีครูทั้งหมด ๘ คน ๗ ศูนย์การเรียน รถมอเตอร์ไซด์ ๖ คัน เมื่อถึงสามแยกนาเกียน-ใบหนา เราก็ต้องแยกทางกัน กลุ่มผมแยกเข้าไปบ้านใบหนารถ ๔ คัน ๕ คน อีกกลุ่มแยกไปเส้นทางบ้านนาเกียน รถ ๒ คัน ๓ คน หลังจากเดินทางผ่านไปได้ประมาณ

กว่าจะรู้ตัวว่าแก่ ก็เมื่อได้รับคำถามแบบเด็ก ๆ

“ครูครับ ฟ้ามิอาจกั้น แปลว่าอะไรครับ” “ครูค่ะ อย่าปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ หมายถึงอะไรค่ะ” “ครูครับ ชั่วฟ้าดินสลาย แปลว่าอะไรครับ” และอีกหลาย ๆ คำถามที่เป็นภาษาวัยรุ่น ที่เด็กเริ่มได้ยินจากเพลง ได้เห็นจากหนังทีวี แม้ว่าทั้งหมู่บ้านจะมีทีวีเพียง ๒ เครื่อง แต่ก็สามารถทำให้เด็กเกิดความสนใจในภาษา และเข้าใจภาษาได้เร็ว โดยเฉพาะภาษาวัยรุ่น ในหมู่เด็กที่อายุก้าวเข้าสู่วัยรุ่น หลายคำถาม ผมต้องตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะเด็กผู้ชายรู้แล้วก็ไปอำเด็กผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมาถามใหม่ หลายคำถาม ทำเอาผมอึ้งเพราะไม่คิดว่าเด็กบนดอย จะถามซึ่งเป็นคำถามแบบวัยรุ่นในเมือง สื่อทีวี เพลง ค่อนข้างที่จะมีอิทธิพล สำหรับเด็กบนดอยมากพอสมควร เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เข้ามาในหมู่บ้านได้ไม่กี่ปี และทีวีเครื่องที่ ๒ ในหมู่บ้าน ก็เพิ่งจะมีเดือน พฤษภาคม ๕๓ ที่ผ่านมานี้เอง โบราณกล่าวไว้ว่า “ดูหนังดูละคร ให้ย้อนกลับมาดูตัวเอง” ด้วยความขี้เกียจ ที่จะต้องย้อนมาดูตัวเองนั่นแหละ ทำให้ผมไม่ค่อยดูทีวี เพราะเป็นคนที่ไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว ทำให้อยู่บนดอยได้โดยไม่เป็นอุปสรรคมากนัก เพราะไม่รู้จะดูไปทำไม ข่าวสารทุกวันนี้ขายข่าวแต่เรื่องร้าย เรื่องดี ๆ ปุถุชน ผู้คนทั่วไปก็ไม่ค่อยนิยมบริโภคกันเท่าไหร่

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.