มาแบ อมก๋อย เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ

มาแบ อมก๋อย  เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ “มาแบ มาแบ อมก๋อย ลงจากดอย มาแบ นักแก ชูเดชะ อามู อาแพ ชูเดชะ อามู อาแพ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย” แปลความได้ว่า ไม่สนุก ไม่สนุก อมก๋อย ลงจากดอย ไม่สนุก มากเลย (คำว่า นักแก เป็นภาษาเหนือ) คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย เมื่อได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก มันสนุกในทำนองและสำเนียง แต่เมื่อได้ถามคำแปลแล้วทำให้ได้ทราบว่า วิถีชีวิตของเด็กบนดอย ที่เป็นอิสระ และความสุข แบบดอย ๆ เด็กเขาคงจะปรับตัวยากเมื่อลงดอย การได้ใช้ชีวิตในตัวอำเภออมก๋อย ถึงแม้จะมีความพร้อมกว่าในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การศึกษา การสื่อสาร และอาหารการกิน หากแต่เด็กก็คือเด็ก ยังคิดถึงพ่อแม่ คิดถึงบ้านบนดอย

โรงเรียนบ้าน… และ ศศช.บ้าน… ต่างกันอย่างไร

โรงเรียนบ้าน…. สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของโรงเรียน การเดินทางค่อนข้างสะดวกกว่า ในหมู่บ้านนั้นมีเด็กมากกว่า 150 คนที่อยู่ในเกณฑ์ วัยเรียน มีครูที่เป็นข้าราชการ ครูสามารถทำผลงานเพื่อเลื่อน ระดับเงินเดือนได้ มีงบประมาณบริหารของแต่ละโรงเรียนเอง ตามที่ได้รับจัดสรร มีครูหลายคน ช่วยกันสอนและรับผิดชอบแต่ละระดับชั้น สวัสดิการของครู เป็นสวัสดิการของข้าราชการ ศศช.บ้าน…… สังกัด สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของศูนย์การเรียน การเดินทางเข้าพื้นที่ส่วนใหญ่จะลำบาก ในหมู่บ้าน มีเด็กในเกณฑ์วัยเรียนตั้งแต่ 3 ขวบ ถึง 14 ปี อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ครูที่สอนเป็นพนักงานราชการ ประเมินการทำงานเพื่อต่อสัญญาทุก 4 ปี ไม่สามารถทำขั้นทำซีได้ ไม่มีงบประมาณของแต่ละ ศศช. งบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ที่ กศน.อำเภอ แต่ละแห่งมีครู 1-2 คน, ครู 1 คนดูแลหลายระดับชั้น รวมทั้งผู้ใหญ่ และผู้ไม่รู้หนังสือ สวัสดิการของครู ตามระเบียบพนักงานราชการ (ใช้ระบบประกันสังคม) นั่นเป็นเหตุผลที่ ครูดอยบางส่วนมาอยู่เพื่อรอสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัด สพท. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การเดินทางในเส้นทางอันหฤโหด ได้เริ่มขึ้นแล้ว

ที่ผ่านมาเป็นแค่ บททดสอบ ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนคือตั้งแต่ มีนาคม-มิถุนายน เป็นบททดสอบทั้งกายและใจ พอย่างเข้าเดือนกรกฎาคม หนทางอันหฤโหด ที่เป็นเรื่องเล่าขาน ต่อกันมานานหลายปีได้เริ่มขึ้นในการเดินทางของผมแล้ว เดือนนี้จำเป็นต้องลงมาจากดอยก่อนกำหนดเดิม ๒ วัน เพราะต้องมาร่วมงานเปิด กศน.ตำบลนาเกียน การเดินทางครั้งนี้เริ่มจากครูกำจัด ที่เป็นครูนิเทศก์กลุ่มแม่ฮองได้ มานิเทศก์ บ้านมะหินหลวง ทีเนอะ ทีลอง ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ต่อมายังบ้านแม่เกิบ แม่ฮองกลาง แม่ฮองใต้ และบ้านห้วยหวาย เป็นบ้านสุดท้าย คณะครูตามรายทางจึงได้เดินทางพร้อมกับครูใหญ่ คำเรียกครูใหญ่ เป็นการให้เกียรติครูนิเทศก์ เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์มายาวนานในการทำงานบนพื้นที่สูง ที่พร้อมจะให้คำแนะนำน้อง ๆ ครูรุ่นใหม่ที่เข้าไปแทนที่คนเก่า ครูใหญ่และพวกเรา ได้ประชุมหารือการเดินทางออกจากพื้นที่ได้ข้อสรุปว่า จะพาคณะครูจาก ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ไปสำรวจเส้นทางกลุ่มผีปาน โดนเส้นทางกลุ่มผีปานนี้ผมใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกประจำ แต่ครูจากศาลาเท และแม่ละเอ๊าะจะใช้เส้นทางบ้านนาเกียนแทน ครูทั้งหมด ๗ คนจาก ๕ ศูนย์การเรียน ของการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางท่ามกลางฤดูมรสุม ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ความลำบาก และการช่วยเหลือ

ครูผู้ช่วยที่ต้องรับผิดชอบ มากกว่าผู้ช่วยครู

แทบจะไม่เคยเขียนเรื่องถึงครูผู้ช่วยของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลางเลย ครูชิ หรือนายนำโชค นิมิตคีรีมาศ เป็นครูในโครงการ ครู กพด. (การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร) ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ครูชิ จบม.๓ จากโรงเรียนบ้านนาเกียน แล้วมาต่อ ม.๖ ที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม ความโชคดีที่ได้เรียนต่อคือบ้านนาเกียนเป็นพื้นที่ที่มีโครงการพระราชดำริ เกี่ยวกับเกษตรพื้นที่สูง และอีกความโชคดีคือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งองค์กรทางศาสนา ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองนับคือคริสต์ได้เรียนในระดับที่สูง ๆ ขึ้น ที่อำเภอไชยปราการ ชนเผ่ามูเซอเหลืองบ้านดอยเวียง จะได้รับการศึกษาดีมาก โดยเด็กเมื่ออายุ ๑๐ ปีขึ้นไปจะถูกส่งไปอยู่บ้านพักหอพักศาสนาคริสต์ในอำเภอพร้าว และได้รับการศึกษาต่อที่อำเภอพร้าว พื้นที่อมก๋อย ก็มีองค์กรทางศาสนาเข้ามาบ้างเหมือนกันในจุดที่การคมนาคมสะดวก ใกล้กับบ้านพักผมที่อมก๋อยยังมีบ้านพักศาสนาบาไฮ ซึ่งเป็นทางเลือกให้สำหรับเด็กบ้านไกล ที่จะได้รับการศึกษาโดยมีองค์กรทางศาสนายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ปัจจุบัน ครูชิ เป็นครูผู้ช่วย โดยได้ทุนจากโครงการพระราชดำริ มาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีทางครุศาสตร์ ซึ่งทุกเดือนระหว่างวันที่ ๓๐ ของเดือน ถึงวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป จะต้องลงมาเรียนที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาราชภัฎเชียงใหม่ เข้ามาสอนให้ถึงที่ ณ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม กศน.อำเภออมก๋อย มีครูผู้ช่วยในโครงการครู

ถึงคราวคับขัน ก็ไม่ถึงกับสิ้นหนทาง สวรรค์ยังเมตตา

ขึ้นดอยโดยปกติผมจะไปถึงสามแยกผีปาน-บ้านนาเกียน ผมจะต้องไปสายผีปาน ไปที่บ้าน ใบหนา แยกผีปานเหนือ เข้าห้วยบง และมาแม่ฮอง ครั้งไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม คราวนี้เปลี่ยนเส้นทางไปเส้นทางที่ไม่เคยไปคือไปบ้าน นาเกียน ทีลอง ศาลาที แม่เกิบ และแม่ฮอง ตามคำชวนของเพื่อนครู และต้องไปดูเส้นทางว่าลำบากกว่าเส้นทางที่ผมใช้ประจำหรือไม่ ก็รู้สึกได้ว่า ถนนจะดีกว่าเส้นที่ผมใช้ประจำ เมื่อไปถึงบ้านแม่เกิบ ทางชันเกือบขึ้นไม่ได้ ต้องเข็ญรถขึ้น พร้อมแบกกระเป๋ามีหนังสือ และวิตามีนซีไปฝากเด็ก ๆ และลำอ้อยไปปลูกบนดอย ผ่านทางขึ้นเนินบ้านแม่เกิบไปได้ด้วยความทุลักทุเล แต่ปรากฎว่ารถไปล้มเอาตอนจะขึ้น ศศช.บ้านแม่เกิบเพื่อจะเข้าไปแวะพักเหนื่อย บาดแผลถลอกนิดเดียว ขนาดวงเหรียญ ๕ หรือเหรียญ ๑๐ ผมคิดว่าไม่เป็นไร สัก ๗-๑๐ วันก็น่าจะหายไปเอง ผมคิดผิดไปถนัด ๗ วันก็แล้ว ๑๐ วันก็แล้ว ซ้ำอาการหนักกว่าเก่า โดยมีเลือดไหลออกมาพร้อมกับหนอง เจ็บจนนอนไม่หลับ ปกติเดือนก่อน ๆ ผมก็เตรียมยาแก้อักเสบขึ้นไป แต่ชาวบ้านไม่สบาย เลยให้ไปหมดเลย ๒ แผง เลยไม่มียาแก้อักเสบกิน ด้วยความที่ซื้อแพงเหลือเกิน อมก๋อยแผงละ

เห็ดเผาะ ของดีที่ไร้ค่า ลุ่มน้ำแม่ฮอง

ตลอดการเดินทางจากอำเภอฮอดเข้า ไปอำเภออมก๋อย จะเห็นข้างถนนหลวงจะมีเพิงเล็ก ๆ ตั้งขายของป่าเรียงรายอยู่ เกือบตลอดเส้นทาง เจ้าเห็ดก้อนกลม ๆ ที่เกิดในดิน หากินได้เฉพาะทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น และก็มีขายกันเฉพาะช่วงต้นฤดู ฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมเท่านั้น เห็ดที่ว่านี้มี ชื่อว่า “เห็ดเผาะ” หรือเห็ดเหียงหรือเห็ดหนัง บางคนก็เรียกว่า เห็ดดอกดิน แต่ชื่อที่เรียกกันติดปากมาที่สุดคือ “เห็ดถอบ” เป็นหนึ่งในของป่าที่สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านริมถนนเหล่า นั้นคือเห็ดเผาะ ภาษาถิ่นทางเหนือเรียกเห็ดถอป และของป่าอื่น ๆ ตามฤดูกาล ภาคอิสานเรียกเห็ดเผาะ สีขาวขุ่นน่ากินยังกับลูกชิ้น เกิดในท้องนาดินปนทราย เห็ดถอบของทางเหนือ จะเกิดบริเวณที่ไฟไหม้ป่า เท่านั้น ลูกดำ ๆ ล้างเท่าไหร่ก็ไม่ขาว ที่อำเภอไชยปราการ ขายกันลิตรละ ๑๐๐-๑๒๐ บาท ในต้นฤดูกาล ที่อำเภอฮอดและอมก๋อย ริมทางหลวงก็ขายกันได้ลิตรละ ๘๐-๑๒๐ ตามความต้องการของตลาด แต่อนิจจา ที่บ้านแม่ฮองกลาง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อยและหมู่บ้านใกล้เคียงชาวบ้านไม่สามารถเอาออกมาขายได้ เพราะไม่รู้ราคาตลาด และการเดินทางลำบาก เด็ก ๆ เอามาฝากให้ครูประมาณ

รางวัลที่แคทอยากได้

รู้สึกขอบคุณตัวเองที่มาร่วมเป็นคนอาสา เพราะทุกครั้ง ที่เราได้ทำอะไรไป แม้ว่าจะไม่ได้รางวัลอะไรกลับมา แต่รางวัลที่แค ทได้รับกลับมาในการทำงานอาสาก็คือ ได้เห็นรอยยิ้มของคนอื่นๆ พร้อมๆ กับได้ยิ้มไปด้วยกัน แต่การที่ได้เห็นพวกเขายิ้ม พวกเขาหัวเราะ พวกเขาดีใจ นั่นคือคำขอบคุณที่วิเศษที่สุดโดยที่ไม่ต้องเอ่ยคำว่า ขอบคุณออกมา นั่นก็พอแล้วสำหรับรางวัลที่แคทอยากได้ ~^ ^~ ด้วยอยากสร้าง    ป่างาม        ตามความคิด หวัง ผลิต         “ป่าคน”      ให้ล้นหลาย ช่วยสร้างคน  คุณภาพ     ให้มากมาย ร่วมขยาย        ความดี         บน”ใจคน” จึงมุ่ง มั่น       สร้างคน        เหมือนสร้างป่า

พอสว. แพทย์อาสา ที่ต้องการของอมก๋อย

หลังจากขึ้นดอยไปวันที่ ๗ เพราะทราบเมื่อเดือนก่อนจากคณะแพทย์สถานีอนามัยนาเกียนว่าจะมีคณะแพทย์ พอสว.เดินเท้า เข้ามาทำการรักษาให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ คณะแพทย์คณะที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ คณะที่ทำการเดินเท้าในครั้งนี้ก็ได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านแม่ฮองกลาง ท่ามกลางความหวังของประชาชน และตัวผมเองที่อยากให้เด็กหายป่วย เด็กบางคนเป็นแผลแล้วหายยาก บางคนเป็นหูน้ำหนวก บางคนเป็นหวัดเรื้อรังบางคนเป็นฝี ทรมานน่าดู ได้ร่วมงานโดยอาศัยจากประสบการณ์ที่เคยทำงานโรงพยาบาลมาก่อน มาทำหน้าที่ชั่งน้ำหนักและเรียกชื่อก่อนส่งตัวให้พยาบาลซักถามอาการ แล้วส่งต่อให้กับคณะแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยรักษาคณะแพทย์อาสาในครั้งนี้ ทำให้ผมได้เห็นความทุ่มเท และจริงใจ ที่คณะแพทย์ ได้มอบให้กับชุมชนห่างไกล ขอย้อนระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จย่า ที่ได้ก่อกำเนิดแพทย์อาสาขึ้น และขอขอบคุณที่มีแพทย์ผู้เสียสละเวลาอันมีค่าของท่าน เข้าร่วมเดินเท้าทำการรักษาในครั้งนี้ ตลอดเส้นทางคณะที่ ๓ ต้องเดินเท้าเป็นเวลา ๔ คืน ๕ วัน และทำการรักษาชาวบ้านประมาณ ๘ หมู่บ้านเป็นการเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ เวลาอันมีค่าได้มาทำการตรวจรักษาพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลอย่างอมก๋อยพร้อม กับได้มอบยาบางส่วนไว้ให้กับ ศูนย์การเรียน เพื่อแจกจ่ายในยามจำเป็นต่อไป

ไม้สั้นไม้ยาว และหมูไล่คน

หลังจากตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันหนึ่ง เพราะมีเสียงเด็ก ๆ มาเรียกที่หน้าศูนย์การเรียนผมมาเปิดประตูอาคารเรียน แล้วตั้งใจจะหันหน้าไปสูดอากาศที่สดชื่น ทางทิศตะวันออก พลันสายตาก็เหลือบไปเห็น นักเรียนคนหนึ่งชื่อกฤษณะชัย อายุสักประมาณ ๑๑ ปี วิ่งลงไปตามถนนพร้อมกับมีหมูตัวใหญ่วิ่งไล่ตามไปติด ๆ เด็กคนนั้นก็วิ่งหายเข้าไปในป่าอย่างรวดเร็ว พร้อมกับหมู ผมตกใจนิด ๆ ไม่เคยเห็นหมูไล่กัดคนมาก่อนในชีวิต แต่ก็แปลกใจ มีนักเรียนอีกคนอายุ ๑๕ ปี ชื่อเปาแซยืนอยู่ทางที่น้องกฤษณะชัยวิ่งลงไป แต่ทำไมเขาไม่ได้ช่วยเหลือกัน ทำไมแล้งน้ำใจเหลือเกิน พักใหญ่เห็นน้องกฤษณะชัย เดินขึ้นมาจากป่า ผมก็โล่งอีกไปที แต่ตัวแค่นี้จะกล้าฆ่าหมูเลยเหรอจึงเรียกมาสอบถาม  ได้ความว่า ลงไปถ่ายอุจจาระ เนื่องจากที่บ้านไม่มีห้องน้ำ แต่เห็นหมูวิ่งไล่ไปอ่ะ ก็ไม่มีอะไรมาก  หมูไปกำจัดสิ่งปฏิกูลให้นั้นเองแต่ผมสุดจะงง หมูมันรู้ได้ไงว่าคนไหนจะเข้าป่าไป ให้อาหารหมู จึงแนะนำน้องกฤษณะชัยไปว่า วันหลังให้เตรียมไม้ไป ๒ อัน อันหนึ่งเป็นไม้ยาว เอาไว้ไล่หมู อีกไม้สั้นนั้นก็พิจารณาเอาเองว่าจะเอาไปทำอะไร หลังจากเสร็จภารกิจ ถ้าไม่มีไม้ยาว ๆ ครูมีที่โรงเรียน ให้ยืม ส่วนไม้สั้นนั้นหาเอาตามป่าได้มีเยอะแยะ

หัวไก่ ตีนไก่ ตูดไก่ และน้ำพริกคางคก

ถ้าไม่สุภาพก็ขออภัยครับ แต่ใช่ครับ ที่บอกมา คือของกินสำคัญของกะเหรี่ยงอมก๋อย และโดยเฉพาะ หัวไก่ ตีนไก่ ตูดไก่จะให้กินเฉพาะแขกสำคัญเท่านั้น คนในบ้านและเด็ก ๆ ไม่มีวันได้กินหรอก ของอร่อยแบบนี้ และผมก็กลายเป็นแขกสำคัญของบ้านนั้นซะด้วยในเหตุการณ์ที่ลืม ไม่ลงนี้ วันนั้นบ้านของน้องสรชาติ ทำพิธีผูกข้อมือให้น้องสาวสองคน สงสัยว่าเพิ่งจะหายป่วยจึงมีการฆ่าไก่ เพื่อทำพิธีผูกข้อมือและทำบุญ ตามที่ได้สอบถามมา ผมเป็นแขกที่ได้รับเชิญไปร่วมกินข้าวที่บ้าน และจะให้ความสำคัญกับแขกมากในการกินข้าวโดยพ่อบ้านจะนำขาไก่ ที่แยกไว้ต่างหากนั้น มาให้แขกกิน จากตามมาด้วยหัวไก่ และตูดไก่ไก่ธรรมดา รสชาติที่เคยกินมันก็คงกินได้ แต่ไก่ดอย มันไม่มีเนื้อหนังอะไรเลยมีแต่เอ็นเหนียว ๆ ติดกระดูก หัวไก่ก็ต้มแบบไม่ใส่เกลือ ไม่ใส่ข่า หรือตะไคร้เลย ทำให้มีความรู้สึกว่าได้กินไก่สด ๆ มาถึงอันสุดท้าย ตูดไก่ครับ บอกได้ว่ามันมีความรู้สึกเหมือน ยังมีเพลี้ยไก่ติดอยู่ในใส้ไก่อยู่เลยรู้สึกว่าอยากจะคาย แต่คายไม่ได้ เพราะมันเป็นของดีที่เขาเลือกให้เราที่เป็นแขกสำคัญเท่านั้นได้กิน ผมเคยอ่านในหนังสือแล้วว่าจะต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ แต่ไม่คิดว่าจะเจอแบบไม่ได้ตั้งตัว ตั้งใจแบบนี้การได้รับเชิญในครั้งนี้เป็น ครั้งแรกที่ได้สัมผัสในเรื่องราวที่เคยอ่านหนังสือมา และก็ได้รับความประทับใจกลับมาชนิด ไม่มีวันลืมอีกเลยถามว่าอร่อยไหม ผมว่าอาหารนี้คงอร่อยที่สุด ในวิถีชีวิตบนดอยที่ลำบากยากแค้นขนาดนั้น เพราะนาน ๆ ถึงจะมีการฆ่าไก่กินสักครั้ง บางทีทั้งเดือน ครอบครัวของเด็ก ๆ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.