การบูรณาการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง

หลังจากประชุมประจำเดือนมีนาคมเสร็จ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ได้รับภารกิจให้เข้าร่วมฝึกอบรม โครงการแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ระหว่างวันที่ ๕ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยงบประมาณและความร่วมมือของ ๓ หน่วยงานหลัก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นครู ศศช. จาก กศน.อำเภออมก๋อย กศน.อำเภอแม่แจ่ม กศน.อำเภอกัลยานิวัฒนา ครูจากโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน และครูจาก สพป.เชียงใหม่เขต ๕ จำนวน  ๑๖๐ คน ณ บ้านพักทัศนาจร ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ และศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งแรกที่ได้รับทราบว่าต้องเข้าฝึกอบรมผมคิดเอาไว้ก่อนว่า คงจะเหมือน ๆ เดิมกับที่อบรมไปปีที่แล้ว แต่ก็ตั้งใจจะมาเอาความรู้ด้านการเพาะเห็ด เพราะพื้นที่กันดารอย่างบ้านแม่ฮองกลาง ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ที่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปได้ เพราะอุปสรรคด้านการขนส่ง จึงตั้งเป้าหมายว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องที่พื้นที่อำนวยให้ คือการปลูกผัก เพราะบ้านแม่ฮองกลางมีน้ำตลอดปี แต่ช่วงหน้าแล้งก็มีปัญหาเรื่องน้ำบ้างแต่ไม่ถึงกับขาดน้ำ การปลูกผักและการเพาะเห็ดจึงเป็นประเด็นที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในการฝึกอบรมครั้งนี้ เมื่อเข้าฝึกอบรมครั้งนี้ กลับได้ความรู้ใหม่ในเรื่องการจัดตั้งสหกรณ์ในชุมชน และเรื่องการเกษตรอินทรีย์ที่เคยเข้ารับการอบรมหลายต่อหลายครั้ง

ไร่เลื่อนลอย (อนาคตที่)ไร้…(อนาคตที่)ล่องลอย

การทำไร่เลื่อนลอย เป็นวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชนเผ่ากะเหรี่ยงของอมก๋อย ที่จะหมุนเวียนกันไปทุกปี เพื่อให้ผืนดินและสภาพป่าได้ฟื้นคืนสภาพ พื้นที่รอบ ๆ หมู่บ้านแถบนั้น ก็จะถูกแผ้วถาง เพื่อทำไร่เลื่อนลอยหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปในแต่ละปี เมื่อครบ ๖ – ๗ ปีก็จะเวียนกลับมาที่เดิม ซึ่งดินก็อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาบ้าง ตามความเชื่อของชนเผ่า การขึ้นดอยไปเดือนกุมภาพันธ์ ทำเอางงเหมือนกัน ที่ครอบครัวได้พาเด็กโตบางส่วนไปเริ่มฟันไร่ ที่ต้องงงคือ ชาวบ้านได้พักแค่ ๒ เดือน คือ ธันวาคม – มกราคม แค่นั้นเอง เด็กโตบางส่วนก็ต้องขาดเรียนไปโดยปริยาย ทั้ง ๆ ที่เด็กรักที่จะมาเรียน แต่มีภาระหน้าที่ต้องไปช่วยครอบครัว ทำให้แผนการต่าง ๆ เรื่องการสนับสนุนเรื่องการศึกษาเด็กของ ต้องเปลี่ยนแปลงโดยปริยาย ๒ เดือนที่ได้พัก นั้นหมายถึงว่า ชาวบ้านต้องทำงานอีก ๑๐ เดือน เพื่อปลูกข้าวเพื่อยังชีพ แถมยังไม่พอกิน ต้องขายใบพลู เพื่อหารายได้เสริม มาซื้อข้าวเพิ่มอีก บางคนมีลูกผู้ชายที่เป็นวัยรุ่น ก็ให้ลูกเข้าไปทำงานที่อำเภอฮอด หรือจอมทอง เพื่อช่วยเหลือครอบครัวอีกทางหนึ่ง แถบภาคกลาง ระบบชลประทานดี

ลาพักร้อน มาสร้างโรงเรียนดิน

ปกติกิจกรรมครูอาสาจะเป็นรูปแบบ “ลาพักร้อน มาสอนเด็กดอย” จะให้อาสาสมัคร หรือที่เรียกว่า “ครูอาสา” จัดกิจกรรมกับเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยสภาพอาคารของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลาง ที่สร้างมาหลายปี เริ่มผุพังตามกาลเวลา ปลวกกินไม้ “ลาพักร้อน มาสร้างบ้านโรงเรียนดิน” จึงเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้อาสาสมัคร ได้ร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรสิ่งดี ๆ ไว้ให้กับศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่ฮองกลาง จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงเป็นโรงเรียนดินในครั้งนี้ ถึงจะเป็นครั้งที่ ๒ ในกิจกรรมที่อมก๋อย แต่ก็สร้างความประทับใจให้กับคณะอาสาได้ไม่น้อย หลาย ๆ ท่านได้กลับมาอีกครั้งจากที่เคยมาแล้วในรุ่นบุกเบิก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ ไม่ได้มาตัวคนเดียว ก็ไปชักชวนกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ชอบงานอาสาเพื่อสังคมคล้าย ๆ กัน ชอบความลำบาก ชอบลุย ๆ เหมือน ๆ กันมา รุ่นบุกเบิก ก็ต้องแปลกใจ ที่มีอาสาที่เป็นถึง ผอ.โรงเรียน แห่งหนึ่งในเขตบางซื้อ กรุงเทพฯ มีข้าราชการครู มีข้าราชการทหาร และเภสัชกร เข้าร่วมกิจกรรม ต้องแปลกใจอีกครั้ง

มิติใหม่…แพทย์ไทยอมก๋อย

ปกติผมจะไม่ค่อยได้ไปหาหมอสักเท่าไหร่ เพราะเคยทำงานโรงพยาบาลมาก่อน รู้ว่าคนที่ไปหาหมอพบแพทย์ เพราะเป็นที่พึ่งหรือความหวังสุดท้ายแล้ว ไม่ใช่เพราะผมเก่งเหมือนหมอ แต่ผมสังเวชและเห็นใจคนป่วยที่ต้องไปพบหมอแต่ละครั้ง ทั้งตัวผู้ป่วย และญาติต่างดูเศร้าหมอง ผมจึงพยายามพึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด ก่อนไปหาหมอที่เป็นทางเลือกสุดท้าย อมก๋อยหลายต่อหลายคน ไม่เคยได้ยิน ไม่รู้ว่าอยู่จังหวัดไหนในประเทศไทย ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ ไม่มีถนนผ่านไปจังหวัดอื่น ไม่มีอีกหลายอย่างที่อำเภออื่น ๆ เขามี และเพิ่งจะมี  7-Eleven ข้าราชการหรือคนของหน่วยงานราชการ เมื่อถูกย้ายมาอมก๋อย จึงรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ต้องมาอยู่ในดินแดนที่กันดารแห่งนี้ รู้สึกเหมือนถูกลงโทษ กักขัง หน่วงเหนี่ยวจากความศิวิไลซ์ แต่ก็เป็นเรื่องจริง แม้แต่ครู กศน.ในจังหวัดเชียงใหม่ ถ้ามีปัญหาในการทำงานที่อำเภออื่น ๆ อมก๋อยเป็นอำเภอแรกที่จะถูกส่งมาอยู่ ในมุมดี ๆ ของอมก๋อยคือข้าราชการ/พนักงานราชการที่บรรจุใหม่ ถูกส่งมาเริ่มงาน เพื่อฝึกให้ผ่าน มอก. ก่อน (มาตรฐานอมก๋อย) หากผ่านอมก๋อยไปแล้วจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ในประเทศไทยนี้ ต้นเดือนมกราคม ได้มีโอกาสพานักเรียนมาหาหมอ ด้วยอาการแปลก ๆ ในสายตาผมคือ ตรงข้อเข่าขาพับด้านใน มีก้อนน้ำนูนออกมา ผมก็ตกใจกลัวว่าโตขึ้นจะเป็นอะไรมากกว่าที่มองเห็น เพราะถามเด็กดูแล้วบอกไม่เจ็บ กดดูก็นิ่ม ๆ เมื่อมาถึงคุณหมอใจดี ดูแป๊บเดียว

4DekDoi ครบรอบ 1 ปี

httpv://www.youtube.com/watch?v=4S3DhsWN2Ew As we approach the one year anniversary of 4DekDoi, we would like to take a moment to thank you for all of your supports 🙂 4DekDoi ครบรอบ 1 ปีแล้วค่ะ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของ 4DekDoi มาโดยตลอดนะคะ

ธรรมะสัญจร เดลิเวอร์รี่จากกรุงเทพฯ สู่อมก๋อย

เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๕๓ ที่ได้มีโอกาสพาน้อง ๆ ชนเผ่ากะเหรี่ยงและมูเซอ ไปทัศนศึกษาที่กรุงเทพฯ และไปทะเลที่จังหวัดระยอง โดยมีผู้ใหญ่ใจดีหลาย ๆ ท่านให้การสนับสนุนงบประมาณ การไปในครั้งนั้น ได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรม ฝึกสติ เจริญปัญญา ที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพชรเกษม ๕๔ ระหว่างร่วมปฏิบัติธรรมตัวผมเองมีความรู้สึกสงบมาก ซึ่งปกติการจัดกิจกรรมแบบนี้จะมีเรื่องให้กังวล และต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่เข้าไปปฏิบัติที่ยุวพุทธฯในครั้งนี้กลับรู้สึกสงบ จนแปลกใจ พอถึงกิจกรรมช่วงท้ายที่จะได้ ออกจากยุวพุทธฯได้สนทนากับพระมหาสมใจ สุรจิตฺโต (พระอาจารย์แตงโม) ที่เป็นพระอาจารย์วิทยากรในครั้งนั้น พระอาจารย์ก็ได้ปรารภว่าอยากมาช่วยจัดกิจกรรมให้ถึงอมก๋อย อันเป็นสถานที่ของเด็ก ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทางไกล จึงได้ประสานงานกราบนมัสการ ขอคำปรึกษาจากพระอาจารย์เรื่อยมา จึงเป็นที่มาของกิจกรรม “อบรมปฏิบัติธรรมสัญจร เด็กชาวไทยภูเขา” ระหว่าง ๔ – ๗ มกราคม ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะอบรมธรรมะในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี หลาย ๆ ท่านที่ทั้งบริจาคช่วย และระดมทุนมาช่วยจัดกิจกรรมซึ่งเป็นจำนวนเงินมากพอสมควร โดยไม่ได้งบประมาณของทางราชการแม้แต่บาทเดียว โดยมีพระมหาสมใจ 

เตาแกส เตาไฟ เตาอะไรทำไมร้อน

ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ คณะของพี่สุรัตน์จากจังหวัดระยอง ผู้ใหญ่ใจดีที่เคยสนับสนุนและเกื้อกูลตลอดมา ก็ได้มาเยี่ยมที่บ้านแม่ฮองกลาง การมาในครั้งนี้ของคณะพี่สุรัตน์ ได้นำมาซึ่งความอบอุ่นมามอบให้กับชุมชน นั้นคือการมอบผ้าห่มให้กับชาวบ้านแม่ฮองกลาง ๔๕ หลังคาเรือน โดยได้รับกันอย่างทั่วหน้าทุกหลังคาเรือน สำหรับเด็ก ๆ เองก็ได้รับรอยยิ้ม เหมือนเคยเพราะได้รับรองเท้าแตะคนละคู่ เป็นของฝากจากผู้ใหญ่ใจดี คณะคุณสุรัตน์ยังได้ฝากขนม และของฝากจากระยองไว้ ทำให้เด็ก ๆ บ้านแม่ฮองกลางสดชื่นตั้งใจเรียนและขยันขันแข็งในการทำงานตลอดเดือนธันวาคม แต่ที่สร้างความแปลกประหลาดและงุนงง ให้กับเด็ก ๆ และชุมชนอยู่ไม่น้อยคือเตาแกสที่คณะพี่สุรัตน์ได้ซื้อบริจาคไว้ให้ ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ได้รับสนับสนุนในศูนย์การเรียน ที่ว่าสร้างความงุนงง คือเด็ก ๆ และชาวบ้านสงสัยว่ามันติดไฟได้อย่างไร ไฟที่ติดทำไมเป็นสีฟ้า ไฟสีฟ้าทำไมมีความร้อน ผมต้องใช้เวลาอยู่ประมาณ ๒ สัปดาห์ในการสอนเด็กใช้งาน แต่ไม่อยากให้ใช้งานบ่อย เนื่องจากจะทำให้เด็กหลงลืมรากเหง้า และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ให้ใช้เฉพาะเมื่อยามจำเป็นเท่านั้น และเนื่องจากการขนส่งลำบาก กว่าจะเอาขึ้นมาได้ ๗๐ กว่ากิโล แล้วก็เป็นอย่างที่คาดไว้ เมื่อเด็ก ๆ ใช้เตาแกสเป็น บอกให้ต้มน้ำเด็ก ๆ ก็จะใช้เตาแกสตลอด จนต้องออกกฎว่าห้ามใช้เตาแกส ถ้าจะใช้เตาแกสทำอะไรต้องแจ้งครูทุกครั้ง ซึ่งแน่นอน ผมไม่ค่อยอนุญาตให้เด็กใช้เตาแกส เพราะจะเกิดความเคยชิน

บุกเบิกอมก๋อย…เป็นครั้งแรก

นับตั้งแต่กิจกรรม “ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย” เกิดขึ้น ครั้งนี้มีหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นที่นี่…เป็นครั้งแรก จัดกิจกรรมครูอาสา ที่อมก๋อย เป็นครั้งแรกครูอาสาหลาย ๆ ท่านมาอมก๋อย เป็นครั้งแรกครูอาสาบางท่าน มาภาคเหนือ เป็นครั้งแรกมีครูอาสา เป็นข้าราชการครู เข้าร่วมกิจกรรม เป็นครั้งแรกมีครูอาสา ที่เป็น ผอ.โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม เป็นครั้งแรกมีครูอาสาหลาย ๆ ท่านเห็นความลำบากสุด ๆ ในชีวิต เป็นครั้งแรกมีครูอาสา ที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้าง มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เป็นครั้งแรกมีครูอาสา ร่วมเป่าเทียนวันเกิด ในกิจกรรม และเป็นครั้งแรกที่ ครูศักดิ์ จาก ศศช. บ้านห้วยบง ที่ขับรถยนต์พาครูอาสาขึ้นไปบ้านแม่ฮองกลาง  😛 (ปกติไปถึงแค่น้ำห้วย) เมื่อเป็นครั้งแรก มันจึงเกิดความผิดพลาด เล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นรถเมล์จากเชียงใหม่ที่คาดว่าจะมาส่งครูอาสาในเวลาไม่เกิน ๑๒.๓๐ – ๑๒.๕๐ กว่าจะมาถึงอมก๋อย ก็ปาเข้าไป ๑๓.๑๕ ช้าไป ครึ่งชั่วโมงรถรับส่งครูอาสาที่เตรียมไว้

เดินทางเข้าไปแม่ฮอง…โหด

จากปากคำอาสาอดีตนักศึกษารามคำแหง “แม่ฮอง…โหด” เป็นคำพูดของคุณเปิ้ล และเพื่อน ๆ ทีมคณะอาสาที่เข้ามาเมื่อวันที่ ๒๖ พ.ย. ๒๕๕๓ และได้กลับออกจากหมู่บ้านเมื่อ ๒๙ พ.ย. ๕๓ ระยะเวลา ๔ วัน ๓ คืน ของอาสาคณะนี้ การเดินทาง ๕๐ กิโลเมตรแรก สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ๑๒ กิโลเมตรหลัง พบได้เฉพาะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง เป็นภูเขาดินเหนียว จุดที่มีน้ำขังในฤดูฝน จะทำให้ถนนเละ ส่วนจุดที่เป็นเนินเมื่อถูกน้ำฝนเข้าไปจะทำให้ถนนลื่นสุด ๆ ขับรถมอเตอร์ไซด์ขึ้นดอย ครูดอยจึงต้องคอยเตือนตนเองตลอดเวลา ว่าห้ามแตะเบรค มิฉะนั้นมีสิทธิ์ล้มแบบไม่รู้ตัว ๘ กิโลเมตรสุดท้าย จากบ้านห้วยบงเข้าไปบ้านแม่เกิบ บ้านแม่ฮองกลาง เป็น ๘ กิโลเมตรที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึง ให้กับคณะอาสาคณะนี้พอสมควร เนื่องจากพื้นที่แบบนี้มีเฉพาะที่ กลุ่มบ้านแม่ฮองเท่านั้น เมื่อย่างเข้าฤดูหนาว น้ำระเหยดินแห้ง การเดินทางก็สะดวกขึ้นมามากพอสมควร จากปกติที่เดินทาง ๔-๕ ชั่วโมง ก็ใช้เวลาเพียงแค่ ๓-๔ ชั่วโมง ค่ายนี้ถึงแม้จะมีผู้ร่วมทีมแค่

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.